[INV016] บทเรียนจากการเลือกซื้อแชมพูสระผม
ผมจำไม่ได้ว่าตัวเองเริ่มสนใจเลือกยี่ห้อแชมพูสระผมตั้งแต่เมื่อไหร่
เพราะสมัยเด็กๆผมไม่เคยสนใจว่าจะใช้แชมพูยี่ห้ออะไรสระผม
คงเพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีอะไรแตกต่างกัน ใช้อะไรสระก็สะอาดหมด
อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะว่าวัยนั้นเรายังไม่ต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเองมากนัก
ส่วนมากก็ "ใช้ตามยี่ห้อที่คนในครอบครัวใช้" ไป
แต่เมื่อถึงวัยที่ต้องตัดสินใจซื้อของใช้ส่วนตัวด้วยตนเอง
สิ่งแรกที่ผมใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการซื้อแชมพูคือ เนื้อสัมผัส(texture) เพราะมันเป็นสิ่งที่ผม "จดจำได้ชัดเจนที่สุด" จากการใช้แชมพูในวัยเด็ก
และเมื่อเวลาผ่านไปผมก็เริ่มเปลี่ยนยี่ห้อแชมพูสระผม
ด้วยเหตุผลที่ว่า "อยากลองของใหม่"
เมื่อถึงเวลานั้นก็ไม่ได้สนใจว่ายี่ห้อเดิมหรือยี่ห้อใหม่จะดีกว่ากัน
สนใจเพียงว่าตนเองอยากลองอะไรใหม่ๆก็เท่านั้น
ต่อมาพอเทรนด์ของสินค้า organic "เริ่มบูม" มากขึ้น บวกกับกำลังซื้อของผมที่เพิ่มขึ้นตามวัย
ผมเริ่มมาสนใจแชมพูสูตรสมุนไพรมากขึ้น
ด้วยความคิดที่ "เชื่อว่า" มันน่าจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
โดยเฉพาะช่วงหลังที่จะติดว่าแชมพูสระผมต้องเป็นอัญชัน
เพราะรู้สึกคุ้นเคย "ชื่อเสียง" และสรรพคุณของมันมากกว่าสมุนไพรอื่น
...
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมยืนพิจารณาเลือกยาสระผมขวดใหม่ให้กับตัวเอง
กวาดสายตาจากซ้ายมาขวา จากบนลงล่าง เพื่อให้รับรู้ว่าจะมีตัวเลือกอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ท้ายที่สุดแล้วผมก็ตัดสินใจหยิบยี่ห้อล่าสุดที่ใช้ (ก็อัญชันน่ะแหละ)
จังหวะที่กำลังจะหันกลับและเดินจากไป สายตาผมก็ไปสะดุดที่แชมพูอีกขวด
มันคือขวดแชมพู ที่มีสีเขียว ดูแล้วรู้สึกสบายตา
การตัดสินใจของผมถูกเบรคทันที ...ใช่แล้วครับ ผมแค่ชอบสีเขียวโทนนี้ "เป็นการส่วนตัว"
ครับ...เย็นวันนั้นผมขับรถกลับบ้านพร้อมด้วยถุงพลาสติกของซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นอนอยู่เบาะหลัง
ข้างในถุงมีแชมพูสระผมสองขวด ทั้งอัญชันและสีเขียว
...
ผมกลับถึงบ้านมานั่งนึกดู นี่มันก็แค่แชมพูสระผมนะ ยังรู้สึกว่าตัวเองถูกความคิดหลายๆอย่างพาไปได้ไหนต่อไหน
ลองคิดเล่นๆว่า "ถ้าเรากำลังจะเลือกซื้อหุ้นสักตัวล่ะ?"
ย้อนกลับไปดูใหม่นะครับ...
"เลือกตามคนอื่น"
"จดจำได้ชัดเจนที่สุด"
"อยากลองของใหม่"
"เริ่มบูม"
"เชื่อว่า"
"ชื่อเสียง"
"รู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว"
ลองถามตัวเองดูว่า เรากำลังใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสร้างเหตุผลให้ซื้อหุ้นสักตัวโดยทันทีเลยหรือเปล่า?
อันที่จริงความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรครับ หากเราใช้เป็น "สมมุติฐานตั้งต้น" ที่ช่วยผลักดันให้เราศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพของบริษัทมากขึ้น
แต่ในส่วนการตัดสินใจขั้นตอนสุดท้าย ควรจะต้องผ่านการพิจารณาความเสี่ยงและจุดอ่อนอย่างรอบด้าน
บางครั้งการฝึกตั้งคำถามแย้งกับความคิดเดิมในหัว ก็เป็นวิธีแรกๆที่ผมใช้เพื่อดักตัวเองไม่ให้ติดหล่มความคิดเข้าข้างตัวเอง (bias) มากเกินไป เช่น
"เลือกตามคนอื่น" -> คนอื่นที่เลือกคือใคร? (เป็นกูรู หรือ กูทำเป็นรู้?) -> ทำไมเขาจึงเลือกหุ้นตัวนี้? (เหตุผลนั้นมีน้ำหนักแค่ไหน?) -> แล้วคนอื่นที่นอกจากคนอื่น(คนแรก)มีความเห็นว่าอย่างไร? ->...
"อยากลองของใหม่" -> ของใหม่ (โดยเฉพาะหุ้น ipo) นั้นไว้ใจได้แค่ไหน? -> ธุรกิจนี้มีผลงานหรือ success story ในระดับ global ที่พิสูจน์ได้ไหม? -> ทำไมจึงเลือกไม่ลงทุนเพิ่มในหุ้นตัวเก่าที่มีอยู่? (ในเมื่อเชื่อว่ามันดีและยังถืออยู่?) ->...
"รู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว" -> คนส่วนมากจะชอบแบบเราหรือเปล่า? -> สิ่งที่เราชอบนี้จะสร้างกำไรให้บริษัทมากน้อยแค่ไหน? (พิจารณาสัดส่วนยอดขายและกำไร) -> แล้วคนที่ไม่ชอบเขามีความเห็นอย่างไร? -> บริษัทคู่แข่งที่มีผลงานดีกว่าก็มีแต่ทำไมเราถึงไม่ชอบ? ->...
...
ตัวอย่างการตั้งคำถามเหล่านี้ ถ้าจะให้ดีควรจดเอาไว้เป็นหลักฐาน
เพื่อทำให้เราไม่โกหกตัวเองว่าเราจงใจมองข้ามประเด็นบางอย่างไปหรือเปล่า
บ่อยครั้งที่ผมเคยตั้งคำถาม แล้วมันก็ลอยหายไปในอากาศ
แถมบางครั้งเราจะคิดเข้าข้างตัวเองว่ามันไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ความผิดพลาดเหล่านี้ถ้าสำหรับการซื้อแชมพูสักขวดผมว่ามันเล็กน้อยมาก
แต่สำหรับการลงทุน...ผมว่ามันอันตรายมากครับ.
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com
เพราะสมัยเด็กๆผมไม่เคยสนใจว่าจะใช้แชมพูยี่ห้ออะไรสระผม
คงเพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีอะไรแตกต่างกัน ใช้อะไรสระก็สะอาดหมด
อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะว่าวัยนั้นเรายังไม่ต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเองมากนัก
ส่วนมากก็ "ใช้ตามยี่ห้อที่คนในครอบครัวใช้" ไป
แต่เมื่อถึงวัยที่ต้องตัดสินใจซื้อของใช้ส่วนตัวด้วยตนเอง
สิ่งแรกที่ผมใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการซื้อแชมพูคือ เนื้อสัมผัส(texture) เพราะมันเป็นสิ่งที่ผม "จดจำได้ชัดเจนที่สุด" จากการใช้แชมพูในวัยเด็ก
และเมื่อเวลาผ่านไปผมก็เริ่มเปลี่ยนยี่ห้อแชมพูสระผม
ด้วยเหตุผลที่ว่า "อยากลองของใหม่"
เมื่อถึงเวลานั้นก็ไม่ได้สนใจว่ายี่ห้อเดิมหรือยี่ห้อใหม่จะดีกว่ากัน
สนใจเพียงว่าตนเองอยากลองอะไรใหม่ๆก็เท่านั้น
ต่อมาพอเทรนด์ของสินค้า organic "เริ่มบูม" มากขึ้น บวกกับกำลังซื้อของผมที่เพิ่มขึ้นตามวัย
ผมเริ่มมาสนใจแชมพูสูตรสมุนไพรมากขึ้น
ด้วยความคิดที่ "เชื่อว่า" มันน่าจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
โดยเฉพาะช่วงหลังที่จะติดว่าแชมพูสระผมต้องเป็นอัญชัน
เพราะรู้สึกคุ้นเคย "ชื่อเสียง" และสรรพคุณของมันมากกว่าสมุนไพรอื่น
...
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมยืนพิจารณาเลือกยาสระผมขวดใหม่ให้กับตัวเอง
กวาดสายตาจากซ้ายมาขวา จากบนลงล่าง เพื่อให้รับรู้ว่าจะมีตัวเลือกอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ท้ายที่สุดแล้วผมก็ตัดสินใจหยิบยี่ห้อล่าสุดที่ใช้ (ก็อัญชันน่ะแหละ)
จังหวะที่กำลังจะหันกลับและเดินจากไป สายตาผมก็ไปสะดุดที่แชมพูอีกขวด
มันคือขวดแชมพู ที่มีสีเขียว ดูแล้วรู้สึกสบายตา
การตัดสินใจของผมถูกเบรคทันที ...ใช่แล้วครับ ผมแค่ชอบสีเขียวโทนนี้ "เป็นการส่วนตัว"
ครับ...เย็นวันนั้นผมขับรถกลับบ้านพร้อมด้วยถุงพลาสติกของซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นอนอยู่เบาะหลัง
ข้างในถุงมีแชมพูสระผมสองขวด ทั้งอัญชันและสีเขียว
...
ผมกลับถึงบ้านมานั่งนึกดู นี่มันก็แค่แชมพูสระผมนะ ยังรู้สึกว่าตัวเองถูกความคิดหลายๆอย่างพาไปได้ไหนต่อไหน
ลองคิดเล่นๆว่า "ถ้าเรากำลังจะเลือกซื้อหุ้นสักตัวล่ะ?"
ย้อนกลับไปดูใหม่นะครับ...
"เลือกตามคนอื่น"
"จดจำได้ชัดเจนที่สุด"
"อยากลองของใหม่"
"เริ่มบูม"
"เชื่อว่า"
"ชื่อเสียง"
"รู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว"
ลองถามตัวเองดูว่า เรากำลังใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสร้างเหตุผลให้ซื้อหุ้นสักตัวโดยทันทีเลยหรือเปล่า?
อันที่จริงความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรครับ หากเราใช้เป็น "สมมุติฐานตั้งต้น" ที่ช่วยผลักดันให้เราศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพของบริษัทมากขึ้น
แต่ในส่วนการตัดสินใจขั้นตอนสุดท้าย ควรจะต้องผ่านการพิจารณาความเสี่ยงและจุดอ่อนอย่างรอบด้าน
บางครั้งการฝึกตั้งคำถามแย้งกับความคิดเดิมในหัว ก็เป็นวิธีแรกๆที่ผมใช้เพื่อดักตัวเองไม่ให้ติดหล่มความคิดเข้าข้างตัวเอง (bias) มากเกินไป เช่น
"เลือกตามคนอื่น" -> คนอื่นที่เลือกคือใคร? (เป็นกูรู หรือ กูทำเป็นรู้?) -> ทำไมเขาจึงเลือกหุ้นตัวนี้? (เหตุผลนั้นมีน้ำหนักแค่ไหน?) -> แล้วคนอื่นที่นอกจากคนอื่น(คนแรก)มีความเห็นว่าอย่างไร? ->...
"อยากลองของใหม่" -> ของใหม่ (โดยเฉพาะหุ้น ipo) นั้นไว้ใจได้แค่ไหน? -> ธุรกิจนี้มีผลงานหรือ success story ในระดับ global ที่พิสูจน์ได้ไหม? -> ทำไมจึงเลือกไม่ลงทุนเพิ่มในหุ้นตัวเก่าที่มีอยู่? (ในเมื่อเชื่อว่ามันดีและยังถืออยู่?) ->...
"รู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว" -> คนส่วนมากจะชอบแบบเราหรือเปล่า? -> สิ่งที่เราชอบนี้จะสร้างกำไรให้บริษัทมากน้อยแค่ไหน? (พิจารณาสัดส่วนยอดขายและกำไร) -> แล้วคนที่ไม่ชอบเขามีความเห็นอย่างไร? -> บริษัทคู่แข่งที่มีผลงานดีกว่าก็มีแต่ทำไมเราถึงไม่ชอบ? ->...
...
ตัวอย่างการตั้งคำถามเหล่านี้ ถ้าจะให้ดีควรจดเอาไว้เป็นหลักฐาน
เพื่อทำให้เราไม่โกหกตัวเองว่าเราจงใจมองข้ามประเด็นบางอย่างไปหรือเปล่า
บ่อยครั้งที่ผมเคยตั้งคำถาม แล้วมันก็ลอยหายไปในอากาศ
แถมบางครั้งเราจะคิดเข้าข้างตัวเองว่ามันไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ความผิดพลาดเหล่านี้ถ้าสำหรับการซื้อแชมพูสักขวดผมว่ามันเล็กน้อยมาก
แต่สำหรับการลงทุน...ผมว่ามันอันตรายมากครับ.
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น