Please support me!

หากชอบใจบทความของผม โปรดสนับสนุนค่ากาแฟเล็กๆน้อยๆเพื่อเป็นกำลังใจนะครับ

[INV017] สัมมนา Money Expo 2015: รวยด้วยกองทุน

บันทึกจากงานสัมมนา วันที่ 7 พฤษภาคม 2015 
มหกรรมการเงิน ครั้งที่ 15 (Money Expo 2015) ที่ Impact Challenger: ตอน "รวยด้วยกองทุน"



คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.

รายชื่อวิทยากร
- คุณวรวรรณ ธาราภูมิ: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง
คุณศรชัย สุเนต์ตา: รองกรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. ไทยพาณิชย์
- คุณสมจินต์ ศรไพศาล: กรรมการ บลจ.ทหารไทย
คุณแพน ณทิพรดา เอื้อพิบูลย์วัฒนา: ผู้ดำเนินรายการ

...

คุณแพน: เราจะสามารถสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนในกองทุนรวมได้อย่างไรบ้าง?

คุณสมจินต์: พอพูดถึงการลงทุนในหุ้น คนมักพูดถึงการเลือกหุ้นแล้วพยายามเก็งกำไรจากมัน คนส่วนมากทำได้ไม่สำเร็จ เพราะโอกาสได้กำไรมีเป็นครั้งคราว ได้แค่ 3-5% ก็มักจะขายออกไปก่อน แต่ตอนขาดทุนมักจะไม่ยอม cut loss โดยภาพรวมแล้วจึงไม่ทำให้เกิดความมั่งคั่งในระยะยาว
- มีเพื่อนที่เป็นคุณหมอท่านหนึ่ง เป็นคนเก่ง ฉลาดมาก เลือกหุ้นได้ดี แต่สุดท้ายแล้วเขาบอกว่าได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุน LTF สูงกว่าพอร์ตหุ้น
- LTF มีข้อได้เปรียบคือ ถูกป้องกันไม่ให้เงินออกจากระบบการลงทุน ทำให้ได้ประโยชน์จากผลตอบแทนทบต้น
- กองทุนรวมมีคุณสมบัติในการกระจายความเสี่ยง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการลงทุนระยะยาว
- ก่อนอื่นเริ่มจากแบ่งเงินเป็น 3 ก้อนก่อน เรียกว่าจัดทัพลงทุน เหมือนทีมฟุตบอล มีกองหน้า, กองกลาง, กองหลัง
- กองหน้า คือ หุ้นทุน เงินลงทุนระยะ 5-7 ปีขึ้นไป และรับความเสี่ยงได้มาก เงินก้อนนี้จัดเป็น "Wealth Builder"
- กองหลัง คือ "Money Manager" เพื่อรักษาเงินต้นและสภาพคล่อง อาจเป็นเงินที่จำเป็นต้องใช้ใน 6 เดือน ถึง 1 ปี ได้แก่ เงินสด, ตราสารหนี้ระยะสั้น
- กองกลาง คือ ตราสารหนี้, พันธบัตร เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ระยะเวลาลงทุน 2-3 ปี แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยต่ำมาก อาจมองหากองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่พื้นฐานดี

คุณศรชัย: กองทุนรวมเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้การลงทุนทำได้ง่ายขึ้น การเลือกซื้อหุ้นเองต้องทำการบ้านเยอะ ใช้เวลานาน ถ้าลงทุนในกองทุนเหมือนให้ผู้จัดการกองทุนทำการบ้านแทนเรา
- แนะนำการลงทุนระยะยาวคือ 3-5 ปี และลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

คุณวรวรรณ: กองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี อาจจะไม่ใช่กองทุนที่เหมาะสมกับเรา ต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้เป้าหมายการลงทุนของตัวเอง

คุณแพน: ที่ผ่านมาแต่ละ cycle ของแต่ละสินทรัพย์ มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นอย่างไรบ้าง?

คุณวรวรรณ: หุ้น ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปีล่าสุด +12.8% ถ้านับตั้งแต่ SET ก่อตั้ง คือ +13% 
- ให้คิดว่าเกษียณแล้วจะมีชีวิตอยู่อีกกี่ปี? เงินก้อนสุดท้ายที่มีตอนเกษียณจะเอาไปลงทุนยังไงให้ได้รับผลตอบแทนพอเลี้ยงตัวเราเองได้?

คุณสมจินต์: จากหนังสือ "Money master the game" แนะนำว่าตอนที่จะเกษียณควรมีพอร์ตหุ้นอยู่ถึง 30%
- วางแผนการเงินเหมือนคุณหมอ: ถามอาการว่าเป็นอะไรมา? ก็รักษาให้ตรงจุด คือต้องรู้ว่าการลงทุนแต่ละประเภทเหมือนยาที่รักษาแต่ละโรคอะไรบ้าง
- Rule of thumb สำหรับการลงทุนระยะยาว คือ ลงในหุ้น 60% : Low risk 40% 
- ผลตอบแทนในหุ้นไทยเฉลี่ย ย้อนหลัง 16 ปี รวมเงินปันผล คือ 12.72%, ส่วนพันธบัตรคือ 5.7%, เงินสด (ฝากประจำ 1 ปี) 2.6%
-  ถ้าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นคือ 60% จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10.8%
-  ถ้าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นคือ 30% จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8%
-  ถ้าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นคือ 10% จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6%
- Worst year return: ตัวอย่างปี 2008 ถ้าสัดส่วนพอร์ตหุ้น 15% ก็ยังได้ +0.05% ถ้าถือหุ้น 100% จะได้ -44%
- ฉะนั้น Risk and Return จะมาคู่กัน ให้ลองดูปีที่หุ้นตกเยอะๆแบบสุดโต่ง แล้วถามตัวเองว่าเราจะรับมือกับมันไหวหรือเปล่า?
- น่าแปลกที่ "average person กลับไม่ได้ average return" เพราะความโลภและความกลัว

คุณแพน: สินทรัพย์แต่ละประเภทจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจยังไงบ้าง?

คุณศรชัย: การจัดทัพนั้นมีหลายรูปแบบ ต้องดูที่เหมาะสมกับตัวเอง ถ้าเราไม่รู้ตัวเองล่ะ? ลองถามพอร์ตของคุณแพนเป็นยังไงบ้าง?

คุณแพน: มีกองทุน, หุ้น, LTF, กองทุนตราสารหนี้, ทอง

คุณสมจินต์: ลองถามผู้ฟังดูว่ามีสัดส่วนพอร์ตหุ้นกันเท่าไหร่บ้าง?

คุณวรวรรณ: เหลือ 30-35% ในหุ้น เพราะอายุเยอะแล้ว พอแล้ว

คุณสมจินต์: คนทั่วไปมักมีลักษณะเหมือน "ทำไร่เลื่อนลอย" คือตอนนี้คิดว่าอะไรดี ก็จะเทไปลงทุนเยอะ โดยไม่คำนึงถึงสัดส่วน

คุณศรชัย: จริงๆกองทุนรวมยังมีให้เลือกลงทุนหลายอย่าง เช่น REIT, กองทุนหุ้นปันผล, กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ

คุณแพน: ตอนนี้สินทรัพย์ไหนจะอยู่ในช่วงขาขึ้น?

คุณศรชัย: ทิศทางอัตราดอกเบี้ย มี 2 ประเด็น
1. มีแนวโน้มที่ FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เป็นปกติ ปีนี้อาจโต 3% แต่นโยบายการเงินยังผ่อนคลายอยู่เลยซึ่งมันผิดปกติ ดังนั้น FED เลยมีแนวโน้มสูงที่จะปรับขึ้น แต่ถามต่อว่า จะส่งสัญญาณอย่างไร? คาดว่านะจะค่อยๆปรับขึ้นมากกว่า ถ้าขึ้นดอกเบี้ยก็จะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภท

คุณวรวรรณ: เงินเราในตลาดหุ้นจะถูกกระทบระยะสั้น

คุณศรชัย: 2. แล้ว Japan, Europe ล่ะ? เพิ่งฟื้นตัวแต่ยังเปราะบาง ก็ยังผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ยังต้อง QE อีก อย่างไทยเราเองเครื่องยนต์เดินไม่เต็มที่ เพราะ 1. ส่งออกไปไม่ได้ 2. หนี้ภาคครัวเรือน 3. bank ปล่อยกู้น้อยลง, NPL พุ่ง จากสิ่งเหล่านี้จึงมองว่าดอกเบี้ยไทยไม่น่าปรับขึ้นตาม
- สินทรัพย์เสี่ยงอาจมีแนวโน้มที่ดีอยู่ในระยะยาว แต่ระยะสั้นอาจมีปัจจัยเสี่ยงอยู่คือ 1. เกิดการปรับฐาน 2. มีการขายทำกำไร

คุณแพน: ถ้าจะปรับพอร์ตการลงทุน จากการที่เงินทุนเกิดการเคลื่อนย้ายจากประเทศไหนไปประเทศไหน? มีความน่าสนใจยังไงบ้าง?

คุณวรวรรณ: เงินออกจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ USA, EU, JP ไปเข้าประเทศในเอเชียเหนือ คือ จีน, เกาหลี, อินเดีย สำหรับไทยเป็น net sell เพราะนักลงทุนเคยคาดหวังไว้สูงว่าไทยจะฟื้นตัวได้เร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เรากำลังซ้ำรอยอินเดีย คือ 1. ต้าน corruption 2. ปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่จะทำให้เศรษฐกิจพัง
- ไทยปีนี้อย่าไปคาดหวังสูง อย่างส่งออก ตั้งเป้าไว้ 10% ลดเป้าเหลือ 4% แต่ทำได้จริงแค่ 1%
- คนไทยเรียนรู้หมดแล้ว อะไรไม่ดีให้บอกมาเลย อย่ามาหลอกตัวเอง

คุณสมจินต์: เราจะจัดการกับพอร์ตเรายังไง? 
1. Strategic Asset Allocation - เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น รายได้, ภาระค่าใช้จ่าย, รับความเสี่ยงได้แค่ไหน?
2. Tactical Asset Allocation - ดูภาวะตลาด
- คนส่วนใหญ่ที่เล่นหุ้นจะดูแต่ภาวะตลาด เพราะอยากเอาชนะตลาด แต่ความจริงคนชนะตลาดมีน้อย
- การปรับพอร์ตสามารถทำได้ เช่น จาก 60% เป็น 50-45% แต่อย่าปรับแบบสุดโต่ง 
- ถามตัวเองด้วยว่า เราจะกลับมาสู่เกมเดิมได้ไหม? ปรับกลับมาจาก Tactical -> Strategic
- "กระจายความเสี่ยง" คือสิ่งที่สำคัญมาก
- กองทุนที่น่าสนใจ 1.หุ้นไทย 2. Global Company Investment 3. Asia ex. Japan (ชอบเป็นพิเศษ) เพราะประเทศส่วนมากอยู่ในช่วงการปฏิรูปประเทศ มีการสร้าง infrastructure ที่เจาะจงมากขึ้น ชนชั้นกลางกำลังขยายตัว
- เน้นกลุ่ม Consumption, IT, Health Care
- มองด้าน Valuation: Asia ค่อนข้างถูก PE MSCI ex. Japan ประมาณ 13 เท่า, ไทย 19 เท่า, โลก 18 เท่า
- Property Fund, Infrastructure Fund

คุณศรชัย: ถ้ารับความเสี่ยงได้สูง ในภาวะดอกเบี้ยต่ำยังแนะนำให้ลงในหุ้น 60% ตราสารหนี้ระยะยาว 30% อีก 10% ลงในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
- ปัญหากรีซใกล้จบแล้ว คือ หยุดชำระหนี้ ออกจากยูโร ใช้สกุลเงินของตัวเอง ทำให้ค่าเงินอ่อน แล้วกลับมาชำระหนี้ต่อ
- เจ้าหนี้ของกรีซจากภาคเอกชนตอนนี้เป็นของภาครัฐหมดแล้ว
- QE ในปัจจุบัน เป็นตัวเพิ่มสภาพคล่องให้กับ bank มากๆ จึงไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
- ปัญหากรีซจบเมื่อไหร่ เมื่อหุ้น EU ตก มองเป็นโอกาสดีที่จะเข้าไปลงทุน

คุณวรวรรณ: ยังสนับสนุนให้ลงทุน ถ้าคิดจะลงทุนระยะยาว และเชื่อว่าลงทุนในกิจการที่ปันผลดี มีแนวโน้มขยายตลาดไปสู่ตลาดต่างประเทศ (โตไปกับเอเชีย)


ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

[MUS001] Kazoo...เครื่องดนตรีที่ใครๆก็เล่นได้!

[OTH004] มาเล่นแฟลกฟุตบอลกันเถอะ!

[INV033] รีวิว 6 เดือน กับการเป็น FA ที่ Finnomena

[IT006] How to convert UTF-8 to ANSI ? (Thai fonts)

[INV023] วิธีใช้ไฟล์ excel ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆจากงบการเงิน