Please support me!

หากชอบใจบทความของผม โปรดสนับสนุนค่ากาแฟเล็กๆน้อยๆเพื่อเป็นกำลังใจนะครับ

[INV008] เสวนา "จับทางเศรษฐกิจ ชี้ทิศลงทุน" (16-08-2014)

บันทึกของผมจากงานเสวนา "จับทางเศรษฐกิจ ชี้ทิศลงทุน" (16-08-2014) 

คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.

สำหรับงานเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า (NIDA)โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ผู้ร่วมเสวนา:
1. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล - ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด
3. ดร.ศุภกร สุนทรกิจ - กรรมการบริหาร สายงานความมั่งคั่ง บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด
4. คุณศิรัถยา อิศรภักดี - ผู้ดำเนินรายการ จาก Money Channel



----------

คุณศิรัถยา: เศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรป ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?

ดร.กอบศักดิ์: ทุกอย่างยังอยู่ในสภาพเดิมตั้งแต่ต้นปี ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นชัดเจน สหรัฐฯสามารถไปต่อได้ แต่ยุโรปยังน่ากังวลว่าจะเป็น Lost Decade เพราะตอนนี้วิกฤตมา 6 ปีแล้วยังไม่ไปไหน ขนาดเยอรมัน ฝรั่งเศส ยังแทบไม่รอด คือมีปัญหาที่นั่งทับไว้ตลอด ไม่ได้เข้าไปแก้ก็จะเป็นแบบญี่ปุ่น คิดว่ายุโรปไม่แตกหรอก แต่จะกอดคอกันจมน้ำมากกว่า
ยุโรปเจอปัญหาใหญ่คือหนี้ภาครัฐ ประเทศเล็กๆมีต้นทุนแพงกว่าเยอรมันประมาณ 20% ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นมาอยู่ยาก อย่างกรีซ สเปน ตกงานเยอะ แล้วไม่ยอมลดค่าเงิน เลยต้องปล่อยให้ว่างงาน ให้ต้นทุนถูกลงมา

คุณศิรัถยา: ทำไมเยอรมันถึงเริ่มโตได้ช้า?

ดร.กอบศักดิ์: ทุกคนหวังให้เยอรมันลากทุกคนไป แต่มันไปไม่ไหว ปัญหาที่โครงสร้างที่ยังแก้ไม่ได้ก็จะเหมือนญี่ปุ่นที่เป็นมา 20 ปีเต็มๆ คือไม่ไปไหน
ทำธุรกิจกับยุโรปตอนนี้อย่าไปคาดหวังมาก มันจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง

คุณศิรัถยา: ญี่ปุ่นกับนโยบายลูกศร 3 ดอก จะดีขึ้นไหม?

ดร.กอบศักดิ์: ก่อนหน้านี้คนญี่ปุ่นหมดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ตอนนี้เริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ลูกศรดอกแรกคืออัดฉีดเงิน ดอกที่สองคืออัดฉีดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ต้องดูว่าดอกที่สามจะทำได้ดีแค่ไหน
ที่เห็นชัดตอนนี้ก็คือเพิ่มภาษี ที่สำคัญคือต้องปฏิรูปแรงงาน เปิดเสรีภาคเกษตร ตอนนี้เหมือนทุ่มสุดตัว ทุบหม้อข้าวไปแล้ว ถ้าคราวนี้ยังไม่ฟื้นอีกคงร่วงยาวไปเลย

คุณศิรัถยา: อะไรจะเป็นสัญญาณว่าจะไม่ได้ผล?

ดร.กอบศักดิ์: อยู่ที่ความเร็วในการแก้ปัญหา ตอนนี้ผลลัพธ์ยังไม่ออกมาชัดเจน

สำหรับประเทศจีน ซึ่งโตต่อเนื่องมายาวนาน คนมีความฮึกเหิม จะกล้าทำโครงการทุกๆอย่าง อย่าดู GDP Growth แต่ให้ดูที่ balance sheet จะมีหนี้สินเยอะ ปัญหาสะสมไว้ สุดท้ายจีนจะเลือกมาตรการต่างๆมาจัดการปัญหา แต่ไม่เอาปรับค่าเงิน เช่น สั่งให้แบงค์เรียกสินเชื่อคืน หรือสั่งไปเลยว่าอุตสาหกรรมไหน overcap ให้ถอดใบประกอบไปเลย
คนป่วยยังไงก็ป่วย ความรวยไม่ช่วย ทำได้แต่พยุงไว้ อย่าไปคาดหวังมาก ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-5 ปีในการแก้

คุณศิรัถยา: พูดถึงเศรษฐกิจไทยบ้าง?

ดร.ศุภกร : การลงทุนมีความชัดเจน ภาคเอกชนเราไม่ค่อยมีปัญหา
- การท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้น แต่ยังสู้ปีก่อนไม่ได้
- ส่งออกเหมือนจะดีขึ้น เพราะไปตั้งเป้าไว้เยอะ ส่วนหนึ่งเกิดจากสหรัฐกับยุโรปที่ยังมีปัญหาภายในอยู่
- consumption น่าจะดีขึ้น
- Q4 จะเป็นตัวเลขการลงทุนที่ดีขึ้น ปีหน้าจะชัดเจนขึ้นอีก
- ครึ่งปีแรกดูไม่โต แต่ครึ่งปีหลังน่าจะดีขึ้น
- ตราบใดที่ GDP ยังเป็นบวกได้ ก็ยังเป็นผลดี
- SET รอข่าวดีให้ขึ้นได้อีก ก็คือรัฐบาลที่ชัดเจน เพราะภาคเอกชนจะปรับตัวตามนโยบายการลงทุนโครงการต่างๆของรัฐบาล

คุณศิรัถยา: ความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงเป็นอย่างไรบ้าง?

ดร.ศุภกร : ถ้าคนไม่มั่นใจ ตลาดหุ้นจะไม่ขึ้นมาขนาดนี้
- ยุโรปต้องอ่อนค่าเงิน เพื่อให้สินค้าขายได้
- ญี่ปุ่นน่าจะเห็นการฟื้นตัว

คุณศิรัถยา: แล้วหุ้นไทยมีความชัดเจนแค่ไหน?

ดร.ศุภกร :  เชื่อว่าจะทะลุ 1550 เพราะการลงทุนและบริโภคจะเพิ่มในครึ่งปีหลัง

คุณศิรัถยา: ความขัดแย้งตะวันออกกลาง หรือยุโรปกับรัสเซีย จะมีผลแค่ไหน? ถ้าเกิดสงครามจะส่งผลไหม?

ดร.วิน: มีผลก็ต่อเมื่อเงินในตลาดมีน้อย คือดูที่สภาพคล่อง ตอนนี้สภาพคล่องล้นเพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำกันมาก fund flow เลยต้องไปหาที่ลง ตอนนี้ความเชื่อมั่นในสภาพคล่องจะเยอะมาก

- ถามว่ามีใครรู้จริงไหมว่ามันส่งผลเป็นตัวเลขเท่าไหร่? ตอบไม่ได้ ทุกอย่างประมาณการกันไปเองหมด
- Geo Political Risk ตอนนี้แทบไม่มีผลเลย เพราะเม็ดเงินยังเทียบไม่ได้กับขนาดทั้งโลก แต่ถ้าเมือ่ไหร่มีประมาณการที่เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นก็อาจจะมีผลได้
- สำหรับญี่ปุ่น ไปถามคนทั่วๆไปตอนนี้ยังเชื่อมั่นในตัวอาเบะ เศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนี้ผูกไว้กับความนิยมของตัวอาเบะ
- ปัญหาของลูกศรดอกที่สาม: 1. ปรับโครงสร้างแรงงาน 2. ปรับโครงสร้างภาษี 3. ปรับโครงสร้างสวัสดิการ
- สำหรับจีน: ชอบ sector แบงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งประกาศตัวเลขหนี้นอกระบบออกมาได้ชัดเจน คือรู้ว่าปัญหาคืออะไร

คุณศิรัถยา:  ปีหน้าที่จะได้เห็นดอกเบี้ยสหรัฐเพิ่มขึ้น แต่จะจัดการกับ QE ยังไง?

ดร.กอบศักดิ์: มีทางเลือกเดียวคือ ถอน QE แล้วขึ้นดอกเบี้ยประมาณกลางปีหน้า สิ่งที่ต้องทำก่อนคือ ถอนสภาพคล่อง อย่างน้อย 1.5 ล้านล้าน ไม่มีทางจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ในสภาพคล่องที่ล้นขนาดนี้ และต้องถอนสภาพคล่องคืนในอัตราที่เร็ว คือใช้เวลาแค่ 6 เดือน
- fund flow ทั่วโลกจะโดนดึงกลับไป
- ให้ตามการเคลื่อนไหวของ George Soros ให้ดี ตอนนี้ short หุ้นสหรัฐฯไว้เยอะมากๆ 

คุณศิรัถยา: fund flow ของสหรัฐกับผลกระทบต่อบ้านเราเป็นยังไงบ้าง?

ดร.ศุภกร : ก่อนหน้านี้ไม่มี fund flow เราก็อยู่กันได้ น่าจะกระทบไทยน้อยเพราะก่อนหน้านี้ต่างชาติก็ถอนเงินออกเรื่อยๆ ปีหน้าหุ้นไทยน่าจะได้ earning 15% ซึ่งทำให้ PE เริ่มถูก
- ปีหน้าตั้งเป้า 1800, GDP 5.1%

ดร.วิน: โอกาสที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยน่าจะช่วง Q3-Q4 ปี 2015 คาดว่าปีหน้าไทยก็ยังเหนื่อย และกระทบกับทั่วโลก
- โลกแห่งความจริง ไม่มี orderly exit เหมือนซ้อมหนีไฟ พอถึงเวลาจริงก็วิ่งหนีตายเอาตัวรอดหมด
- FED ยังคิดไม่ออกว่าจะ scale down 3.5 ล้านล้าน ลงยังไง
- บริษัทไทยเราแข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่ม SET50 โดยเฉพาะกลุ่ม bank ขนาดใหญ่
- ตอนนี้มีกองทุนที่ลงทุนใน junk bond มาขายในไทยมาก ซึ่งมีความเสี่ยงจากสภาพคล่อง
- ผลกระทบจากการถอนสภาพคล่องจะรุนแรง ต้องควบคุม credit risk ดีๆ
- สภาพคล่องจะส่งผลกระทบเป็นทวีคูณ ปัจจุบัน 2 เท่า มันดูไม่เยอะ แต่ตอนเกิดวิกฤตมันไปถึง 4 เท่า
- ให้ดูจาก solution ของ FED ว่ามี guideline แบบไหน ถ้าเห็นว่าเชื่อมั่นมากขึ้น ก็จะเป็นตามที่ George Soros คาดไว้
- คอยติดตาม yield curve ของ 10-year government bond บอกสภาพคล่องได้ ถ้าเริ่มขึ้นไป 10-15 bsp ให้ปล่อยสินทรัพย์เสี่ยง ถ้าลงให้เข้าสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่ม
- Volatility Index (VIX) ถ้ามีค่าต่ำๆ แปลว่าตลาดไม่กังวล ทุกคนอยากจะเสี่ยง ซึ่งตอนนี้ต่ำสุดในรอบ 6 ปี
- หุ้นไทย: จะขึ้นได้ ต่างชาติต้องกลับมา ถ้าต่างชาติไม่กลับมา ไม่มีทางเกิน 1600
- อะไรที่ทำให้ต่างชาติกลับมา? ...ก็คือนโยบายภาครัฐ
- ปีนี้ได้แค่ 1550
- short term ให้ 1620 คือมีต่างชาติกลับมาช่วย
- ถ้า worst case ให้ 1400

ดร.กอบศักดิ์: ตอนนี้ภาคเอกชนไทยยังมีความเชื่อมั่นในครึ่งปีหลัง
- ภาคอสังหาฯ ยังมั่นใจว่าจะได้ตามเป้า
- ภาคท่องเที่ยว บริโภค เริ่มดีขึ้น
- ไทยมีกำลังซื้อที่เข้มแข็ง รอแค่ความเชื่อมั่น คือต้องมีกำลังใจ
- Q3 โต 3%, Q4 โต 4-5% ปีหน้า 5%
- อย่าไปคิดค่าเฉลี่ยทั้งปี ให้มอง momentum ในการเคลื่อนไปข้างหน้า
- ต้องรอความชัดเจนที่ Q4 ก่อน แบงค์ชาติจึงจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย
- FED ไม่สนใจโลก เค้าจะทำตามนโยบายเพื่อสหรัฐฯ ใครจะเป็นยังไงไม่สนใจ
- ถ้าจะขึ้น จะขึ้นทีละ 0.25% เป็นเวลา 2 ปี
- จับตามองเมื่อ QE หมดลง ช่วง Q4 ว่า FED จะทำอะไรต่อ


ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

[MUS001] Kazoo...เครื่องดนตรีที่ใครๆก็เล่นได้!

[OTH004] มาเล่นแฟลกฟุตบอลกันเถอะ!

[INV033] รีวิว 6 เดือน กับการเป็น FA ที่ Finnomena

[IT006] How to convert UTF-8 to ANSI ? (Thai fonts)

[INV023] วิธีใช้ไฟล์ excel ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆจากงบการเงิน