[INV012] Note from Money Talk @ SET: บทเรียนหุ้นจาก Warren Buffett (11-10-2014)
บันทึกของผมจากงาน Money Talk @ SET: บทเรียนหุ้นจาก Warren Buffett (11-10-2014)
คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.
รายชื่อวิทยากร
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร: ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
- คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ: นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
- คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข: นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
- ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์: นักเขียนนักวิชาการด้านการลงทุน
- ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา, อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ: ผู้ดำเนินรายการ
คุณพรชัย: เกี่ยวกับ warren buffett...เป็นคนหัวค้าขาย เริ่มตั้งแต่ 6 ขวบ ซื้อโค้กแพคมาแบ่งขาย, เป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์, ลงทุนซื้อตู้ pinball มาตั้ง, ซื้อหุ้นตัวแรกตอนอายุ 11 ขวบ, ตอนอายุ 19 ได้อ่านหนังสือ "Intelligent Investor" ของ Benjamin Graham, ได้มาเรียนการลงทุนกับ Benjamin Graham, ตอนอายุ 26 รวมเงินจากญาติๆมาลงทุน
ดร.กุศยา: หลักการลงทุนที่เน้นสุดคือ "รู้ว่าตัวเองกำลังลงทุนอะไร" ต้องรู้จักดีและเข้าใจ เน้นดูจากผลประกอบการในอดีตต้องดีมาตลอด ไม่ดูหุ้น IPO เน้นดู ROE กับ NPM ต้องสูงเพิ่มขึ้นทุกปี มี DCA สินค้าเลียนแบบได้ยาก ไม่อิงกับ commodity มากนัก
- ดูมูลค่าเทียบกับราคา MOS ประมาณ 25% ที่ชอบสุดต้องถึง 50%
- ลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐานง่ายๆ เน้นที่การประมาณกำไรและรายได้ง่ายๆ พวกของกินของใช้
คุณวิบูลย์: ไม่นิยมหุ้นเทคโนโลยี ตอน NASDAQ บูม พอร์ตของ buffett ไม่ไปไหน ผู้คนก็มองว่าหลักการของ buffett ใช้ไม่ได้ แต่พอเวลาผ่านไปฟองสบู่แตก ถึงได้ยอมรับ แต่ต่อมา buffett ก็ได้ลงทุนกับ IBM เพราะ business model เปลี่ยนไปขาย service แทน
- ดูธุรกิจที่มองไปข้างหน้า 5-10 ปี เช่น ลงทุนในบริษัทรถไฟ
คุณพรชัย: ผลตอบแทน Berkshire เฉลี่ยปีละ 20% เป็นเวลา 40 กว่าปี
ดร.นิเวศน์: ลงทุนโดยเอาความแน่นอนเป็นที่ตั้ง เป็นหุ้นติดดินธรรมดา ฟังดูไม่น่าสนใจ ต้องพิสูจน์มานานแล้วว่าไม่เจ๊งแน่นอน เป็นผู้ชนะมาตลอด รู้ว่าตัวไหนชนะก็จะทุ่มเงินซื้อทีเยอะๆ
- ซื้อหุ้นที่ generate cash ได้เร็วๆ
- พอเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็จะมาคุมเรื่องการใช้เงินของบริษัท
- ซื้อหุ้นเหมือนซื้อกิจการ เก็บไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยขาย
- ปีนึงจะซื้อแค่ 1-2 ตัว บางปีก็ไม่ซื้อเลย ตอนเศรษฐกิจบูมๆ ไม่ซื้อหุ้นเลย ตอนเศรษฐกิจตกค่อยเข้าไปซื้อ
ดร.กุศยา: พลาดที่สุดคือการไปซื้อ Berkshire ซึ่งทำธุรกิจสิ่งทอ ซื้อมาแล้วเจ๊ง แต่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ เปลี่ยนมาเป็น holding company
- อีกความผิดพลาดหนึ่งคือ ซื้อ US Airways ซึ่งไม่เหมาะกับการลงทุน
- ที่เจ๊งเลยคือ Dexter Shoe ผลิตรองเท้าคาวบอย ไม่มี DCA โดนค่าแรงการผลิตจากเอเชียที่ถูกกว่า
- Tesco ไม่สามารถรักษาต้นทุนที่ต่ำเอาไว้ได้
- ที่พลาดไม่ได้ลงทุนคือ Walmart ในตอนแรกๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มีเงิน เพิ่งเข้ามาตอนหลังที่ราคาหุ้นเริ่มแพงแล้ว
คุณวิบูลย์: ทุกครั้งที่ buffett พลาด จะเขียนลงในหนังสือรายงานประจำปี บอกเลยว่าปีนี้ทำอะไรพลาดบ้าง
ดร.นิเวศน์: ลงทุนแค่ 20 ทีในชีวิตก็พอ คือรอหุ้นดีๆ ทุ่มทีเดียว ปล่อยให้มันโตเรื่อยๆ "อย่าตีลูกบอลทุกครั้งที่มันเข้ามา"
คุณวิบูลย์: buffett เป็นคนรอได้ เว้นรอได้ รอเป็นปีโดยไม่ได้ซื้อหุ้นเลย
คุณพรชัย: ชอบเรื่องความมีวินัย ทุกคนก็มีหลักการกันหมด แต่ถึงเวลาจริงทำตามไม่ได้ แต่ buffett เป็นคนที่มีอิสระทางความคิด ไม่ถูกกดดันจากคำบอกเล่าของคนรอบข้าง
ดร.ไพบูลย์: ฝากคำถามถ้า buffett จะซื้อหุ้นไทย คิดว่าจะซื้อตัวไหน? แล้วตัวไหนที่ buffett จะไม่ซื้อ?
ดร.นิเวศน์: คิดว่าหุ้น IPO ไม่ซื้อแน่นอน
ดร.กุศยา: ต้องจดทะเบียนเข้าตลาดมานานๆ
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com/
คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.
รายชื่อวิทยากร
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร: ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
- คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ: นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
- คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข: นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
- ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์: นักเขียนนักวิชาการด้านการลงทุน
- ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา, อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ: ผู้ดำเนินรายการ
คุณพรชัย: เกี่ยวกับ warren buffett...เป็นคนหัวค้าขาย เริ่มตั้งแต่ 6 ขวบ ซื้อโค้กแพคมาแบ่งขาย, เป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์, ลงทุนซื้อตู้ pinball มาตั้ง, ซื้อหุ้นตัวแรกตอนอายุ 11 ขวบ, ตอนอายุ 19 ได้อ่านหนังสือ "Intelligent Investor" ของ Benjamin Graham, ได้มาเรียนการลงทุนกับ Benjamin Graham, ตอนอายุ 26 รวมเงินจากญาติๆมาลงทุน
ดร.กุศยา: หลักการลงทุนที่เน้นสุดคือ "รู้ว่าตัวเองกำลังลงทุนอะไร" ต้องรู้จักดีและเข้าใจ เน้นดูจากผลประกอบการในอดีตต้องดีมาตลอด ไม่ดูหุ้น IPO เน้นดู ROE กับ NPM ต้องสูงเพิ่มขึ้นทุกปี มี DCA สินค้าเลียนแบบได้ยาก ไม่อิงกับ commodity มากนัก
- ดูมูลค่าเทียบกับราคา MOS ประมาณ 25% ที่ชอบสุดต้องถึง 50%
- ลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐานง่ายๆ เน้นที่การประมาณกำไรและรายได้ง่ายๆ พวกของกินของใช้
คุณวิบูลย์: ไม่นิยมหุ้นเทคโนโลยี ตอน NASDAQ บูม พอร์ตของ buffett ไม่ไปไหน ผู้คนก็มองว่าหลักการของ buffett ใช้ไม่ได้ แต่พอเวลาผ่านไปฟองสบู่แตก ถึงได้ยอมรับ แต่ต่อมา buffett ก็ได้ลงทุนกับ IBM เพราะ business model เปลี่ยนไปขาย service แทน
- ดูธุรกิจที่มองไปข้างหน้า 5-10 ปี เช่น ลงทุนในบริษัทรถไฟ
คุณพรชัย: ผลตอบแทน Berkshire เฉลี่ยปีละ 20% เป็นเวลา 40 กว่าปี
ดร.นิเวศน์: ลงทุนโดยเอาความแน่นอนเป็นที่ตั้ง เป็นหุ้นติดดินธรรมดา ฟังดูไม่น่าสนใจ ต้องพิสูจน์มานานแล้วว่าไม่เจ๊งแน่นอน เป็นผู้ชนะมาตลอด รู้ว่าตัวไหนชนะก็จะทุ่มเงินซื้อทีเยอะๆ
- ซื้อหุ้นที่ generate cash ได้เร็วๆ
- พอเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็จะมาคุมเรื่องการใช้เงินของบริษัท
- ซื้อหุ้นเหมือนซื้อกิจการ เก็บไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยขาย
- ปีนึงจะซื้อแค่ 1-2 ตัว บางปีก็ไม่ซื้อเลย ตอนเศรษฐกิจบูมๆ ไม่ซื้อหุ้นเลย ตอนเศรษฐกิจตกค่อยเข้าไปซื้อ
ดร.กุศยา: พลาดที่สุดคือการไปซื้อ Berkshire ซึ่งทำธุรกิจสิ่งทอ ซื้อมาแล้วเจ๊ง แต่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ เปลี่ยนมาเป็น holding company
- อีกความผิดพลาดหนึ่งคือ ซื้อ US Airways ซึ่งไม่เหมาะกับการลงทุน
- ที่เจ๊งเลยคือ Dexter Shoe ผลิตรองเท้าคาวบอย ไม่มี DCA โดนค่าแรงการผลิตจากเอเชียที่ถูกกว่า
- Tesco ไม่สามารถรักษาต้นทุนที่ต่ำเอาไว้ได้
- ที่พลาดไม่ได้ลงทุนคือ Walmart ในตอนแรกๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มีเงิน เพิ่งเข้ามาตอนหลังที่ราคาหุ้นเริ่มแพงแล้ว
คุณวิบูลย์: ทุกครั้งที่ buffett พลาด จะเขียนลงในหนังสือรายงานประจำปี บอกเลยว่าปีนี้ทำอะไรพลาดบ้าง
ดร.นิเวศน์: ลงทุนแค่ 20 ทีในชีวิตก็พอ คือรอหุ้นดีๆ ทุ่มทีเดียว ปล่อยให้มันโตเรื่อยๆ "อย่าตีลูกบอลทุกครั้งที่มันเข้ามา"
คุณวิบูลย์: buffett เป็นคนรอได้ เว้นรอได้ รอเป็นปีโดยไม่ได้ซื้อหุ้นเลย
คุณพรชัย: ชอบเรื่องความมีวินัย ทุกคนก็มีหลักการกันหมด แต่ถึงเวลาจริงทำตามไม่ได้ แต่ buffett เป็นคนที่มีอิสระทางความคิด ไม่ถูกกดดันจากคำบอกเล่าของคนรอบข้าง
ดร.ไพบูลย์: ฝากคำถามถ้า buffett จะซื้อหุ้นไทย คิดว่าจะซื้อตัวไหน? แล้วตัวไหนที่ buffett จะไม่ซื้อ?
ดร.นิเวศน์: คิดว่าหุ้น IPO ไม่ซื้อแน่นอน
ดร.กุศยา: ต้องจดทะเบียนเข้าตลาดมานานๆ
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น