[LIF003] การอุทิศบุญที่ได้ผล
ผมหยิบหนังสือเล่มเล็กๆสีแดงที่นอนอยู่เบาะหลังรถของคุณพ่อผม
เมื่อได้อ่านชื่อของหนังสือแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะพลิกดูสิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างใน
"การอุทิศบุญที่ได้ผล" - พระอาจารย์เกษม อาจิณณสีโล
...
"เบิกบุญอุทิศได้มากยิ่งดี
เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นรอบโน่น
ได้น้อยดีน้อย ได้มากดีมาก
ใครเจอเหตุการณ์ไม่ดีในชีวิต
ก็ลองเอาไปปฏิบัติไม่ยากอะไร
ท่านทั้งหลายลองเอาไปปฏิบัติดู ไม่ลองไม่รู้
เหมือนมีคนเอาผลไม้มาให้เราชิมว่าหวาน
เราไม่ชิมจะรู้ได้อย่างไรว่าหวาน?"
...
คำพูดบทนี้ถูกตีพิมพ์บนหน้าแรกของหนังสือ
ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจตลอดทั้งเล่ม
เมื่ออ่านจบแล้วก็ลองนำไปปฏิบัติดู
แล้วอะไรๆก็ดีขึ้นอย่างที่เราตั้งใจ
ผมจึงกำลังเขียนบทความนี้ เพื่อที่จะสรุปใจความสำคัญจากหนังสือเล่มนี้
หากท่านผู้อ่านเห็นว่าดี ก็อย่าลืมที่จะเผยแพร่ให้คนรอบข้างของท่านด้วย
...
เราเคยได้ยินคำสอนมาตั้งแต่เด็กๆ เรื่องของกฎแห่งกรรม
"ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว"
หลายคนที่ทำดี มักจะท้อ เพราะผลของความดีนั้นไม่ปรากฎดั่งที่ใจต้องการ
ก็เลยไปเหมารวมว่า "ทำดีแล้วไม่เห็นจะได้ดีเลย"
อย่าเพิ่งน้อยใจไปเลย
อย่าลืมว่า ทั้งกรรมดี-ชั่วนั้น ไม่ได้มีแค่เดี๋ยวนี้หรือเมื่อก่อน
แต่มีสะสมมาตั้งแต่ชาติก่อน
ถ้ายังใช้ไม่หมดก็จะทยอยมาโผล่ในชาตินี้
บางทีการที่เรามีปมด้อยหรือจุดเด่นอะไร ก็มีความเกี่ยวเนื่องกับผลของกรรมที่ทำไว้เมื่อชาติก่อน
ในเมื่ออดีตนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้เสียแล้ว ก็จงทำปัจจุบันให้ดีกันดีกว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงการเกิดบุญไว้อย่างย่อๆ 3 ประการคือ
1. บุญจากการให้ทาน
2. บุญจากการรักษาศีล
3. บุญจากการภาวนาอบรมจิตใจ
จะเห็นว่า ไม่ว่าจะทำความดีในรูปแบบใดก็เกิดบุญกุศลได้
ซึ่งบางครั้งก็ง่ายกว่าที่เราคาดหวังกันไว้ด้วยซ้ำ
เช่น การที่เราให้ของแก่ใคร ด้วยจิตใจที่หวังดี อยากจะให้ผู้รับได้ประโยชน์สุข
ไม่ว่าจะให้พระภิกษุ พ่อแม่ เพื่อน อาจารย์
หรือจะเป็นการให้อาหารสัตว์เลี้ยง โยนขนมปังให้ปลาในบ่อกิน
ก็จะต่างกันที่ผลบุญมากน้อยบ้าง
แต่ก็ถือว่าได้บุญด้วยกันทั้งนั้น
เวลาเราให้ของใคร พอของหลุดจากมือแล้ว
จะเกิดกระแสบุญขึ้นแผ่ออกจากตัวของผู้ให้
เพียงไม่กี่วินาทีแสงนี้จะพุ่งหายขึ้นไปเบื้องบน แล้วสะสมเป็นกองบุญของผู้ให้
บุญนั้นก็ถูกเข้าคิวเก็บไว้เรื่อยๆ รอเวลาที่จะถูกนำมาใช้ จะเร็วช้าเท่าไหร่ผมก็ไม่อาจรู้ได้
แต่ถ้าอยากอุทิศบุญนั้นให้กับใคร หรือสิ่งใด เราก็สามารถระบุได้โดยตรง
ก็เหมือนกับว่า เราได้ให้ผลบุญนั้นต่อไปอีกให้กับผู้รับ ก็ยิ่งได้บุญอีก
ดังนั้น ควรอธิษฐานจิตโดยทันทีที่ของหลุดจากมือว่า...
"บุญนี้จงเป็นของ......."
ถ้าให้กับตนเองก็เป็น "บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาตัวข้า"
ถ้าให้พ่อแม่ก็เป็น "บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาบิดามารดาของข้า"
หรือจะให้กับใครก็ระบุถึงเทวดาผู้รักษาผู้นั้นได้
เมื่อเทวดาผู้รักษาผู้นั้นได้รับผลบุญแล้วก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ก็ส่งผลให้ผู้นั้นดีขึ้นด้วย
และเทวดาท่านจะทราบเองว่าผลบุญนั้นมาจากที่ใด
เราก็จะได้ผลบุญนี้ด้วย
และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นบุคคล แต่หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่เราอยากอุทิศให้
เช่น เจ้ากรรมนายเวร ภูต ผี ปีศาจ เปรต ครุฑ นาค ยักษ์ หรือโรคร้ายที่เบียดเบียนร่างกายและจิตใจ
แต่ต้องอย่าลืมว่า ต้องรีบคิดอธิษฐานโดยทันที คิดให้ชัดเจน อย่าให้เกิน 3 วินาที
...
ส่วนการรักษาศีล เมื่อตั้งใจรักษาศีล ระลึกถึงตนเองได้ ก็ถือเป็นบุญกุศล
ให้อธิษฐานส่งบุญว่า
"บุญที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลนี้ ขอมอบแก่..."
...
สำหรับการนั่งภาวนาทุกครั้ง ก่อนเริ่มก็ให้คิดดังนี้
"ขออำนาจ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงดลบันดาลบุญที่ข้าพเจ้ากำลังจะภาวนาเวลานี้
จงสำเร็จแก่ผู้ต้องการบุญ ผู้ใดคิดอยากได้ ขอให้บุญภาวนาที่กำลังจะทำนี้เป็นของท่านตามปรารถนา"
หรือจะระบุให้ใครก็ตาม แล้วเมื่อนั่งภาวนาเสร็จ ก็ให้อุทิศบุญนี้ไปให้อีกครั้งหนึ่ง
แต่สำหรับการภาวนานี้จะเป็นบุญที่กำลังแรง พวกภูตผีชั้นต่ำที่มาเบียดเบียนอาจจะไม่สามารถรับได้โดยตรง
เราก็จะต้องเปิดจ่ายไว้ก่อนทำ คือให้พวกเขามารับไปตามความสามารถของตน
หรือเราอาจจะภาวนาว่า ให้บุญนั้นแปรสภาพอยู่ในรูปแบบใดก็ตามที่เขาเหล่านั้นต้องการ
นอกจากนี้ บุญที่เราได้ทำเก็บเอาไว้ก็ยังสามารถเบิกบุญออกมาอุทิศให้ผู้อื่นได้อีกเช่นกัน
วิธีการก็ใช้หลักการเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น จะเปลี่ยนลักษณะคำพูดก็ได้ แต่ให้หลักการประมาณนี้
...
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการอุทิศบุญเบื้องต้น ที่ผมได้สรุปมาให้ฟัง
หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถเข้าไปที่ http://www.geocities.com/watsamyaek
และขออนุโมทนาบุญกับผู้ที่นำคำสอนและหลักการเหล่านี้เผยแพร่ต่อไปด้วย
ขอขอบคุณร้านอาหารบ้านตัวโน้ต ที่เป็นผู้สนับสนุนจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้สำหรับแจกฟรี
ขอบคุณพระอาจารย์เกษม อาจิณณสีโล สำหรับคำสอนดีๆที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน
หากบทความนี้มีอะไรที่ผมตีความหรืออธิบายผิดพลาดไปก็ขออภัยและโปรดชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ.
เมื่อได้อ่านชื่อของหนังสือแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะพลิกดูสิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างใน
"การอุทิศบุญที่ได้ผล" - พระอาจารย์เกษม อาจิณณสีโล
...
"เบิกบุญอุทิศได้มากยิ่งดี
เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นรอบโน่น
ได้น้อยดีน้อย ได้มากดีมาก
ใครเจอเหตุการณ์ไม่ดีในชีวิต
ก็ลองเอาไปปฏิบัติไม่ยากอะไร
ท่านทั้งหลายลองเอาไปปฏิบัติดู ไม่ลองไม่รู้
เหมือนมีคนเอาผลไม้มาให้เราชิมว่าหวาน
เราไม่ชิมจะรู้ได้อย่างไรว่าหวาน?"
...
คำพูดบทนี้ถูกตีพิมพ์บนหน้าแรกของหนังสือ
ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจตลอดทั้งเล่ม
เมื่ออ่านจบแล้วก็ลองนำไปปฏิบัติดู
แล้วอะไรๆก็ดีขึ้นอย่างที่เราตั้งใจ
ผมจึงกำลังเขียนบทความนี้ เพื่อที่จะสรุปใจความสำคัญจากหนังสือเล่มนี้
หากท่านผู้อ่านเห็นว่าดี ก็อย่าลืมที่จะเผยแพร่ให้คนรอบข้างของท่านด้วย
...
เราเคยได้ยินคำสอนมาตั้งแต่เด็กๆ เรื่องของกฎแห่งกรรม
"ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว"
หลายคนที่ทำดี มักจะท้อ เพราะผลของความดีนั้นไม่ปรากฎดั่งที่ใจต้องการ
ก็เลยไปเหมารวมว่า "ทำดีแล้วไม่เห็นจะได้ดีเลย"
อย่าเพิ่งน้อยใจไปเลย
อย่าลืมว่า ทั้งกรรมดี-ชั่วนั้น ไม่ได้มีแค่เดี๋ยวนี้หรือเมื่อก่อน
แต่มีสะสมมาตั้งแต่ชาติก่อน
ถ้ายังใช้ไม่หมดก็จะทยอยมาโผล่ในชาตินี้
บางทีการที่เรามีปมด้อยหรือจุดเด่นอะไร ก็มีความเกี่ยวเนื่องกับผลของกรรมที่ทำไว้เมื่อชาติก่อน
ในเมื่ออดีตนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้เสียแล้ว ก็จงทำปัจจุบันให้ดีกันดีกว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงการเกิดบุญไว้อย่างย่อๆ 3 ประการคือ
1. บุญจากการให้ทาน
2. บุญจากการรักษาศีล
3. บุญจากการภาวนาอบรมจิตใจ
จะเห็นว่า ไม่ว่าจะทำความดีในรูปแบบใดก็เกิดบุญกุศลได้
ซึ่งบางครั้งก็ง่ายกว่าที่เราคาดหวังกันไว้ด้วยซ้ำ
เช่น การที่เราให้ของแก่ใคร ด้วยจิตใจที่หวังดี อยากจะให้ผู้รับได้ประโยชน์สุข
ไม่ว่าจะให้พระภิกษุ พ่อแม่ เพื่อน อาจารย์
หรือจะเป็นการให้อาหารสัตว์เลี้ยง โยนขนมปังให้ปลาในบ่อกิน
ก็จะต่างกันที่ผลบุญมากน้อยบ้าง
แต่ก็ถือว่าได้บุญด้วยกันทั้งนั้น
เวลาเราให้ของใคร พอของหลุดจากมือแล้ว
จะเกิดกระแสบุญขึ้นแผ่ออกจากตัวของผู้ให้
เพียงไม่กี่วินาทีแสงนี้จะพุ่งหายขึ้นไปเบื้องบน แล้วสะสมเป็นกองบุญของผู้ให้
บุญนั้นก็ถูกเข้าคิวเก็บไว้เรื่อยๆ รอเวลาที่จะถูกนำมาใช้ จะเร็วช้าเท่าไหร่ผมก็ไม่อาจรู้ได้
แต่ถ้าอยากอุทิศบุญนั้นให้กับใคร หรือสิ่งใด เราก็สามารถระบุได้โดยตรง
ก็เหมือนกับว่า เราได้ให้ผลบุญนั้นต่อไปอีกให้กับผู้รับ ก็ยิ่งได้บุญอีก
ดังนั้น ควรอธิษฐานจิตโดยทันทีที่ของหลุดจากมือว่า...
"บุญนี้จงเป็นของ......."
ถ้าให้กับตนเองก็เป็น "บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาตัวข้า"
ถ้าให้พ่อแม่ก็เป็น "บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาบิดามารดาของข้า"
หรือจะให้กับใครก็ระบุถึงเทวดาผู้รักษาผู้นั้นได้
เมื่อเทวดาผู้รักษาผู้นั้นได้รับผลบุญแล้วก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ก็ส่งผลให้ผู้นั้นดีขึ้นด้วย
และเทวดาท่านจะทราบเองว่าผลบุญนั้นมาจากที่ใด
เราก็จะได้ผลบุญนี้ด้วย
และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นบุคคล แต่หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่เราอยากอุทิศให้
เช่น เจ้ากรรมนายเวร ภูต ผี ปีศาจ เปรต ครุฑ นาค ยักษ์ หรือโรคร้ายที่เบียดเบียนร่างกายและจิตใจ
แต่ต้องอย่าลืมว่า ต้องรีบคิดอธิษฐานโดยทันที คิดให้ชัดเจน อย่าให้เกิน 3 วินาที
...
ส่วนการรักษาศีล เมื่อตั้งใจรักษาศีล ระลึกถึงตนเองได้ ก็ถือเป็นบุญกุศล
ให้อธิษฐานส่งบุญว่า
"บุญที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลนี้ ขอมอบแก่..."
...
สำหรับการนั่งภาวนาทุกครั้ง ก่อนเริ่มก็ให้คิดดังนี้
"ขออำนาจ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงดลบันดาลบุญที่ข้าพเจ้ากำลังจะภาวนาเวลานี้
จงสำเร็จแก่ผู้ต้องการบุญ ผู้ใดคิดอยากได้ ขอให้บุญภาวนาที่กำลังจะทำนี้เป็นของท่านตามปรารถนา"
หรือจะระบุให้ใครก็ตาม แล้วเมื่อนั่งภาวนาเสร็จ ก็ให้อุทิศบุญนี้ไปให้อีกครั้งหนึ่ง
แต่สำหรับการภาวนานี้จะเป็นบุญที่กำลังแรง พวกภูตผีชั้นต่ำที่มาเบียดเบียนอาจจะไม่สามารถรับได้โดยตรง
เราก็จะต้องเปิดจ่ายไว้ก่อนทำ คือให้พวกเขามารับไปตามความสามารถของตน
หรือเราอาจจะภาวนาว่า ให้บุญนั้นแปรสภาพอยู่ในรูปแบบใดก็ตามที่เขาเหล่านั้นต้องการ
นอกจากนี้ บุญที่เราได้ทำเก็บเอาไว้ก็ยังสามารถเบิกบุญออกมาอุทิศให้ผู้อื่นได้อีกเช่นกัน
วิธีการก็ใช้หลักการเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น จะเปลี่ยนลักษณะคำพูดก็ได้ แต่ให้หลักการประมาณนี้
...
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการอุทิศบุญเบื้องต้น ที่ผมได้สรุปมาให้ฟัง
หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถเข้าไปที่ http://www.geocities.com/watsamyaek
และขออนุโมทนาบุญกับผู้ที่นำคำสอนและหลักการเหล่านี้เผยแพร่ต่อไปด้วย
ขอขอบคุณร้านอาหารบ้านตัวโน้ต ที่เป็นผู้สนับสนุนจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้สำหรับแจกฟรี
ขอบคุณพระอาจารย์เกษม อาจิณณสีโล สำหรับคำสอนดีๆที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน
หากบทความนี้มีอะไรที่ผมตีความหรืออธิบายผิดพลาดไปก็ขออภัยและโปรดชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น