[INV005] Note from สัมมนา "VI Orientation" ครั้งที่ 1 (26/07/14)
จดบันทึกของผมจากงาน สัมมนา "VI Orientation" ครั้งที่ 1 (26/07/14)
คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.
สำหรับงานสัมมนา "VI Orientation" นี้เป็นครั้งแรกซึ่งจัดโดย สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (Thai VI) สอนโดย "อ.คนขายของ" ซึ่งมีลักษณะเหมือนการปฐมนิเทศให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ ที่สนใจและเพิ่งเริ่มต้นในการลงทุนในแนวทางของ VI โดยผู้เข้าร่วมต้องเป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ ซึ่งรับจำนวนจำกัดแค่ 60 คน (แน่นอนว่าต้องตื่นมากด refresh หน้าจอตอน 08:59 เพื่อแย่งกันลงทะเบียนนะครับ ;P)
แต่จากกระแสตอบรับที่ดีมาก คาดว่าทางสมาคมฯน่าจะจัดครั้งถัดไปแน่นอน รอติดตามข่าวกันดีๆครับ :)
ฝากไว้อีกนิดว่า เดิมทีงานนี้ได้ห้ามบันทึกเสียงหรืออัดวีดีโอ และไม่ได้เผยแพร่สไลด์ที่ใช้อบรม เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำไปแชร์กันโดยนำข้อมูลไปอ้างอิงกันแบบผิดๆ หรือตัดตอนแค่บางส่วน แล้วเกิดการเข้าใจผิดแล้วบอกต่อกันออกไป
ดังนั้นการจดบันทึกของผมก็เช่นเดียวกันที่ไม่ควรนำไปใช้อ้างอิงหรือเชื่อว่าถูกต้องโดยทั้งหมด ผมเพียงสรุปสิ่งที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ด้วยความเห็นส่วนตัวเท่านั้นครับ เตือนอีกครั้งว่าใช้วิจารณญาณกันนะครับ :)
- ตอบโจทย์ 4 อย่างหลักๆ คือ
1. Inflation (ต้องเอาชนะอัตราเงินเฟ้อ),
2. Passive Income (เป็นรายได้เสริม),
3. Healthy Lifestyle (ต้องการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี),
4. Have a good life (ต้องการมีชีวิตที่ดี)
- ปัจจุบัน "ความรู้เรื่องการลงทุน" ถือว่าสำคัญมากๆ ต้องรู้ติดตัวไว้ เป็นเหมือน "ยาสามัญประจำบ้าน"
- ทางเลือกในการลงทุนมีหลายอย่าง เช่น หุ้น, พันธบัตร, commodity, อสังหาริมทรัพย์, ค่าเงิน, ของสะสม
- ทุกทางเลือกมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
- หุ้น, commodity -> เสี่ยงสูง,
พันธบัตร -> สภาพคล่องดี ขนาดใหญ่,
อสังหาฯ -> สภาพคล่องไม่ดี ขายต่อยุ่งยาก
- สรุปว่าอย่างที่รู้ๆกัน...High Risk, High Return
- หุ้นเสี่ยงสูงสุด เวลาเป็นเจ้าของก็ไม่มีของให้จับต้องซะด้วยสิ
- ส่วนการเก็บเงินสด ให้ผลตอบแทนต่ำสุด เสี่ยงต่ำสุด (ความสัมพันธ์ของผลตอบแทนเมื่อเทียบกับหุ้นจะแปรผกผันกัน เมื่อถึงช่วงที่หุ้นให้ผลตอบแทนติดลบ การมีเงินสดก็เลยมองว่ามีผลตอบแทนสูงกว่าแทน)
- 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงในการลงทุนคือ Risk & Reward (ภาพประกอบให้ลอง search "Risk and Reward Matrix ดูนะจ๊ะ)
- ถ้าเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัท ก็ถือยาวไปเลย
- มีกราฟเปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้น พันธบัตร ทองคำ ฯลฯ ในระยะเวลา 200 ปี พบว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงก็ให้ผลตอบแทนสูงสุด (หุ้น 7% CAGR)
- ผลตอบแทนดีอย่างอื่นก็ทำได้ แต่จะให้ต่อเนื่องและยาวนานยังไม่มีอะไรสู้หุ้นได้
- ถ้าระยะสั้นช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะมี commodity ที่ให้ผลตอบแทนชนะหุ้น แต่มันก็มี cycle บางทีกว่ารอบมันจะมาต้องรอนานกว่า 20 ปี
- ปีค.ศ. 1605 ตลาดหุ้นแห่งแรกเกิดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เกิดมาร่วม 400 กว่าปี แต่ข้อมูลที่จดบันทึกกันมีแค่ 200 ปีซึ่งถือว่ายังน้อยมาก
- สถิติผลตอบแทนของการลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆใน USA ช่วงปี 1985-2002 ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ ธุรกิจ Pre-Packaged Software และ Pharmaceutical คือเฉลี่ย 30% ต่อปี ส่วนธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนน้อยสุดคือ Airlines ประมาณ 5% ต่อปี, ส่วนค่าเฉลี่ยรวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 11.6%
- จะเห็นว่า ไม่มีธุรกิจอะไรที่อยู่ๆจะให้ผลตอบแทนปีหนึ่งๆเป็น 100% หรือ 200% (หลายเด้ง) แต่ทำไมในตลาดหุ้นจึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมันมีคนกลัวและขายออกมามากๆ จนราคามันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
- Asset บางอย่างมีมูลค่าเพิ่มเมื่อเวลาผ่านไป (เช่น หุ้น ที่ดิน ของสะสม) บางอย่างก็มูลค่าลดลง (เช่น รถยนต์ เครื่องจักร)
- ส่วนผลตอบแทนของเงินฝาก จะเป็นบวกเสมอ แต่เฉลี่ยแล้วก็จะน้อยกว่าหุ้น (2.8%)
- มีกราฟแท่งเปรียบเทียบ Deposit = 2.8%, Loan = 6%, Business = 11.5%
- รัฐบาลมักชอบให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ให้เกิดการลงทุน และเกิดการจ้างงาน
- หุ้น คือ ส่วนหนึ่งของธุรกิจ เราก็จะเป็นหนึ่งส่วนในค่าเฉลี่ยผลตอบแทน 11.5% ข้างต้น
- แต่มันมีความเสี่ยง ไม่ใช่ว่าทุกตัวลงทุนไปแล้วจะดี
- วิธีการลงทุนในหุ้น มีหลายวิธี: VI, Technical, Program Trading, Horoscope(วัดดวง), Nothing(มั่ว!)
- ไม่มีอะไรถูกผิดเสมอไป อาจใช้ร่วมกันได้ เช่น VI กับ เทคนิค เหมือนเรามีช้อนส้อมช่วยกัน ถ้าใช้ถูกวิธี
------------------
- ข้อเด่น:
1. มีตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จให้เห็น
2. เป็นเหตุเป็นผล สามารถอธิบายที่มาได้
3. มองการลงทุนในหุ้นคือ การซื้อธุรกิจ
- ข้อด้อย:
1. ไม่ระบุ timing ที่ชัดเจน (จะซื้อเมื่อไหร่ ถือยาวแค่ไหน ขายเมื่อไหร่)
2. ผลตอบแทนระยะสั้นอาจแพ้ตลาด
3. ติดกับดัก "Value Trap" คือดูอย่างเดียว ดูแต่ PE หรือดูแต่ Dividend Yield แล้วตัดสินใจเลย ไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดต่อว่าเกิดจากอะไร
- ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ VI...
X...กิจการดี ราคาแพงมากๆ ก็ลงทุนได้เลย
X...ถือยาว ไม่ขาย
X...ต้อง PE ต่ำเท่านั้น
X...ปันผลสูง
X...โลภเมื่อคนอื่นกลัว
X...ซื้อแล้วไม่ต้องติดตาม
X...หุ้น VI คือหุ้นที่คน VI ถือ (WTF!)
- VI คือ "การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของกิจการและลงทุนเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
- คุณค่าหรือราคา? หุ้นที่ดีคือหุ้นที่ร้อนแรงจริงหรือไม่? ...คนเล่นหุ้นใหม่ๆมักจะมีกำไร แต่น้อยคนที่จะได้กำเงินออกมา (เปรียบเทียบเหมือนกับเดินเข้าไปเล่นบ่อน)
--------------------
-------------------
- เริ่มยังไง? ...ให้เริ่มจากกิจการที่เราเข้าใจอยู่แล้ว
- วิเคราะห์อุตสาหกรรมด้วย "5 Forces Analysis"
- ถ้าดู factor ต่างๆแล้วเจอจุดตายแน่ๆ อาจตัดสินใจขายทันที อย่ารอให้ไปโผล่ว่าขาดทุนในงบการเงิน ถึงตอนนั้นก็สายไปเสียแล้ว
- ศึกษางบการเงิน...กำไร 3 อย่างที่เน้น: 1. Gross Profit, 2. Operating Profit, 3. Net Income
- งบดุลกับ Cashflow ก็ต้องดูด้วย สำคัญเช่นกัน, หลายครั้งที่บริษัทเจ๊งเพราะเงินสดขาดมือ หมุนไม่ทัน
- แต่...งบการเงินไม่ได้บอกเราทุกอย่าง เช่น ค่าตัวของ CEO หรือผู้บริหารเก่งๆ, ค่าความนิยมของ Brand, Patent ต่างๆ ดังนั้นเวลาประเมินมูลค่าหุ้น อย่าลืม คิดเรื่องพวกนี้รวมไปด้วย
- Stock Analysis: แบ่งเป็นเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
- เชิงปริมาณ เช่น การใช้ค่า PE, NPM, ROA, ROE ฯลฯ
- เชิงคุณภาพ ให้เปรียบเทียบเหมือนภาพโมนาลิซ่า ถ้าเราพิจารณาแต่เชิงปริมาณ มูลค่ามันจะต่ำมาก คือมีแค่ค่าสี ค่าผืนผ้าใบ แต่พอพิจารณาความสวยงามความนิยมเข้าไปมูลค่าจึงมหาศาล
- ยกตัวอย่างมา 4-5 บริษัท ที่กำไรพอๆกัน แต่ทำไมตลาดให้มูลค่าไม่เท่ากัน (Market Cap.)
- เราจึงต้องเข้าใจลักษณะของแต่ละกิจการเสียก่อนว่าแตกต่างกันยังไง เช่น...
กิจการรับเหมา
- เก็บเงินตามงวดของงาน
- สินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงานมีน้อย
- จะโตได้ต้องเพิ่มหนี้สิน
- หนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) สูง
- อัตราล้มละลายตอนเศรษฐกิจขาลงมีสูง
- ใช้ทุนตั้งต้นต่ำ คืนทุนเร็ว หมุนเงินต่อไปเรื่อยๆ
- ธุรกิจมี Barrier to entry ต่ำ
- เสี่ยงโดนเบี้ยว พลาดโดนงานใหญ่ทีซวย
กิจการโรงแรม
- เก็บเงินสด
- ใช้เงินลงทุนสูง
- ระยะคืนทุนนาน (พ่อลงทุน รุ่นลูกถึงจะได้คืน, มีแต่คนที่รวยแล้วถึงมาทำ พอทำนานๆรุ่งๆ จะมารับบริหารโรงแรมแทน)
- อ่อนไหวต่อการเมือง (ประเทศไทยเป็นเคสที่เห็นชัดเจน)
- อัตราแลกเปลี่ยนมีผล
- มีรายได้จากธุรกิจหลายกลุ่ม (อย่างโอเรียลเต็ล รายได้ค่าอาหาร จัดเลี้ยง งานแต่ง สัดส่วนมากถึง 50%)
- ธุรกิจมี Barrier to entry ต่ำ
- Asset มักจะโตได้เรื่อยๆ (ที่ดินทำเลดีๆ)
- สรุปว่า ต้องเข้าใจรายละเอียดของธุรกิจที่ลงทุน ถ้าเราเข้าใจดี ใครจะมาหลอกเราก็ไม่ได้
*** ตลาดหุ้น เชื่อง่าย ตายก่อน***
- Stock Valuation: มีหลายวิธี DCF, PEG, PBV, ROE, Market Cap.
- Risk Management: รู้จักประเภทของความเสี่ยง, การจัด portfolio, ศึกษาประวัติศาสตร์ของหุ้น
- Investment Psychology:
- คนที่มีอารมณ์ร่วมตามตลาด มักถูกหลอกได้ง่าย
- พวกรายใหญ่รู้ว่า รายย่อยชอบมองแต่ราคาหุ้น ตัดสินใจก็ด้วยราคาหุ้น จึงใช้ราคาเป็นเครื่องมือหลอกเรา
- คนที่มีเงินมากๆเวลาจะซื้อเค้าไม่มานั่งกดไล่ราคาทีละช่อง แต่มักจะยืมหุ้นมา short ก่อน
- นักลงทุนหน้าใหม่อย่างเรา ช่วงแรกๆต้องศึกษาให้มาก เพราะกระสุนมีน้อย ถ้าพลาดทีเจ็บหนัก
(เปรียบเหมือนเราเข้าสู่สนามรบ มีแค่ปืนพกลูกโม่ กระสุน 6 นัด คือต้องยิงห้ามพลาด ต้องให้โดนทุกเม็ด แต่คนอื่นเค้ามีปืนกลแรมโบ้ มี RPG เค้ายิงกราดมาทีก็ไม่รอดแล้ว)
- ระวัง..."ตาบอดคลำช้าง" คือคลำไปโดนหูก็บอกว่าช้างรูปร่างเป็นใบๆ คลำไปโดนขาก็บอกว่าช้างรูปร่างเป็นแท่งๆ คือศึกษาไม่มากพอไม่เห็นภาพรวมของมันจริงๆนั่นเอง
Tools & Websites
- SET, Settrade, กลต., Thai VI, Google Finance, Money Talk, Money Channel
- แนะนำ Google Finance จะแสดงคู่แข่งหรือบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบให้ด้วย
- หนังสือ:
The Intelligent Investor,
Common Stock and Uncommon Profits,
One up on Wall Street,
Beating the street,
The new Buffettology,
The essential of Warren Buffett,
The most important thing illuminated.
-------------------
- มีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Durable/Sustainable Competitive Advantage)
- ธุรกิจไม่ยากเกินความเข้าใจ (เช่น ค้าปลีก->ง่าย, ปิโตรเคมี->ยาก)
- อุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
- นักลงทุนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย
- ผู้บริหารมีจริยธรรม, บริษัทมีธรรมาภิบาล
*** Investment is a long-term game. ***
การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน...
- เป็นผู้นำ, เบอร์หนึ่ง, market share สูงสุด
- เป็นผู้นำเสนอ product ใหม่ๆเป็นเจ้าแรก
- brand แข็งแกร่ง
- อัตราการทำกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่าคู่แข่ง
- สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้สม่ำเสมอ
- ยากที่ผู้อื่นจะเลียนแบบหรือสร้างขึ้นใหม่
- กิจการที่สามารถขึ้นราคาได้เรื่อยๆ (คนที่เป็นเจ้าเบอร์หนึ่งมักจะกำหนดราคาได้)
- ความซื่อสัตย์ผู้บริหารสำคัญมาก: ดูอย่างเคส ENRON
- Buffett: "ผมไม่รู้ว่าอีก 10 ปีบริษัทจะกำไรเท่าไหร่ แต่อีก 10 ปียังไงคนก็ยังเคี้ยวหมากฝรั่ง"
- Opp Day: เหมือนขุมทรัพย์ให้เราเช็คได้ว่า บริษัทนี้พูดยังไง คู่แข่งพูดยังไง ฟังเยอะๆเราจะได้ภาพรวมอุตสาหกรรม ต่อไปเราจะจับผิดได้เลยว่าบริษัทไหนมั่ว
- ฝึกฝนมุมมองการทำธุรกิจ
- จับกลุ่ม Discussion กันบ่อยๆ
- ได้ข้อมูลอะไรมา อย่าเพิ่งเชื่อ
Steps of VI
1. ค้นหากิจการด้วยตนเองหรือผ่านสื่อต่างๆ
2. ทดลองใช้บริการหรือสินค้า
3. อ่าน 56-1, Annual Report, Website บริษัท
4. หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Opp Day, Money Talk, Company Visit
5. ตรวจประวัติผู้บริหาร
6. ทำความเข้าใจอุตสาหกรรม
7. ตรวจสอบงบการเงิน
8. ประเมินราคาที่น่าลงทุน
*** อย่าดูราคาก่อน ถ้าเห็นแต่ราคาแพง เราอาจมองข้ามธุรกิจดีๆไป ถ้าแพงก็รอไปก่อน ถ้าถูกแล้วค่อยจัดเต็ม ***
- ฝึกการจับประเด็นจากการอ่านข่าว เช่น จะโตกี่ % , ขยายกี่สาขา, ใช้งบลงทุนเท่าไหร่ แล้วลองไปดูว่าในอุตสาหกรรมนี้ลงทุนแล้วคืนทุนกี่ปี ลองคำนวณยอดขาย กำไร ของปีคร่าวๆดูให้ได้
คำถามที่ต้องถามก่อนการถือหุ้น?
1. จะเติบโตยังไง? เพิ่ม market share? เพิ่ม services & products? รุกตลาดใหม่ๆ? หรือทำมันทุกอย่างเลยรึเปล่า?
2. ลองสมมุติ Best/Worst case ที่จะเกิดกับบริษัท
3. มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ไหม?
4. เราสามารถประเมินกำไรในอนาคตได้แม่นยำแค่ไหน?
5. หุ้นมีสภาพคล่องไหม?
----------------
Case Study ของอาจารย์:
- มีตัวที่เคยตีแตก จากการศึกษาในรายละเอียดตอนดู Cashflow และพบว่า NPM ดีสุดในอุตสาหกรรม
- ตัวที่พลาด คือโดนผู้บริหารหลอก, ประเมินศักยภาพมันผิด, มีการเมืองภายในองค์กร
5 นาทีก่อนจบ...
- ปัญหาการเป็นมนุษย์ คือจิตใจเราไม่แน่นอน คนเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- ถ้าให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมดวงอาทิตย์ ป่านนี้ตายกันหมดโลกแล้ว เพราะวันไหนอารมณ์ดีก็ขึ้นตรงเวลา วันไหนขี้เกียจก็ขึ้นไม่ตรงเวลา
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com/
คำเตือน: จดตามที่ได้ยินและความเข้าใจของตนเอง ไม่รับประกันความถูกต้อง ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล.
สำหรับงานสัมมนา "VI Orientation" นี้เป็นครั้งแรกซึ่งจัดโดย สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (Thai VI) สอนโดย "อ.คนขายของ" ซึ่งมีลักษณะเหมือนการปฐมนิเทศให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ ที่สนใจและเพิ่งเริ่มต้นในการลงทุนในแนวทางของ VI โดยผู้เข้าร่วมต้องเป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ ซึ่งรับจำนวนจำกัดแค่ 60 คน (แน่นอนว่าต้องตื่นมากด refresh หน้าจอตอน 08:59 เพื่อแย่งกันลงทะเบียนนะครับ ;P)
แต่จากกระแสตอบรับที่ดีมาก คาดว่าทางสมาคมฯน่าจะจัดครั้งถัดไปแน่นอน รอติดตามข่าวกันดีๆครับ :)
ฝากไว้อีกนิดว่า เดิมทีงานนี้ได้ห้ามบันทึกเสียงหรืออัดวีดีโอ และไม่ได้เผยแพร่สไลด์ที่ใช้อบรม เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำไปแชร์กันโดยนำข้อมูลไปอ้างอิงกันแบบผิดๆ หรือตัดตอนแค่บางส่วน แล้วเกิดการเข้าใจผิดแล้วบอกต่อกันออกไป
ดังนั้นการจดบันทึกของผมก็เช่นเดียวกันที่ไม่ควรนำไปใช้อ้างอิงหรือเชื่อว่าถูกต้องโดยทั้งหมด ผมเพียงสรุปสิ่งที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ด้วยความเห็นส่วนตัวเท่านั้นครับ เตือนอีกครั้งว่าใช้วิจารณญาณกันนะครับ :)
ขอบคุณภาพประกอบจากเฟสบุคของ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) |
- Why stock investment? (ทำไมต้องลงทุนในหุ้น?)
- ตอบโจทย์ 4 อย่างหลักๆ คือ
1. Inflation (ต้องเอาชนะอัตราเงินเฟ้อ),
2. Passive Income (เป็นรายได้เสริม),
3. Healthy Lifestyle (ต้องการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี),
4. Have a good life (ต้องการมีชีวิตที่ดี)
- ปัจจุบัน "ความรู้เรื่องการลงทุน" ถือว่าสำคัญมากๆ ต้องรู้ติดตัวไว้ เป็นเหมือน "ยาสามัญประจำบ้าน"
- ทางเลือกในการลงทุนมีหลายอย่าง เช่น หุ้น, พันธบัตร, commodity, อสังหาริมทรัพย์, ค่าเงิน, ของสะสม
- ทุกทางเลือกมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
- หุ้น, commodity -> เสี่ยงสูง,
พันธบัตร -> สภาพคล่องดี ขนาดใหญ่,
อสังหาฯ -> สภาพคล่องไม่ดี ขายต่อยุ่งยาก
- สรุปว่าอย่างที่รู้ๆกัน...High Risk, High Return
- หุ้นเสี่ยงสูงสุด เวลาเป็นเจ้าของก็ไม่มีของให้จับต้องซะด้วยสิ
- ส่วนการเก็บเงินสด ให้ผลตอบแทนต่ำสุด เสี่ยงต่ำสุด (ความสัมพันธ์ของผลตอบแทนเมื่อเทียบกับหุ้นจะแปรผกผันกัน เมื่อถึงช่วงที่หุ้นให้ผลตอบแทนติดลบ การมีเงินสดก็เลยมองว่ามีผลตอบแทนสูงกว่าแทน)
- 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงในการลงทุนคือ Risk & Reward (ภาพประกอบให้ลอง search "Risk and Reward Matrix ดูนะจ๊ะ)
- ถ้าเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัท ก็ถือยาวไปเลย
- มีกราฟเปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้น พันธบัตร ทองคำ ฯลฯ ในระยะเวลา 200 ปี พบว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงก็ให้ผลตอบแทนสูงสุด (หุ้น 7% CAGR)
- ผลตอบแทนดีอย่างอื่นก็ทำได้ แต่จะให้ต่อเนื่องและยาวนานยังไม่มีอะไรสู้หุ้นได้
- ถ้าระยะสั้นช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะมี commodity ที่ให้ผลตอบแทนชนะหุ้น แต่มันก็มี cycle บางทีกว่ารอบมันจะมาต้องรอนานกว่า 20 ปี
- ปีค.ศ. 1605 ตลาดหุ้นแห่งแรกเกิดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เกิดมาร่วม 400 กว่าปี แต่ข้อมูลที่จดบันทึกกันมีแค่ 200 ปีซึ่งถือว่ายังน้อยมาก
- สถิติผลตอบแทนของการลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆใน USA ช่วงปี 1985-2002 ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ ธุรกิจ Pre-Packaged Software และ Pharmaceutical คือเฉลี่ย 30% ต่อปี ส่วนธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนน้อยสุดคือ Airlines ประมาณ 5% ต่อปี, ส่วนค่าเฉลี่ยรวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 11.6%
- จะเห็นว่า ไม่มีธุรกิจอะไรที่อยู่ๆจะให้ผลตอบแทนปีหนึ่งๆเป็น 100% หรือ 200% (หลายเด้ง) แต่ทำไมในตลาดหุ้นจึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมันมีคนกลัวและขายออกมามากๆ จนราคามันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
- Asset บางอย่างมีมูลค่าเพิ่มเมื่อเวลาผ่านไป (เช่น หุ้น ที่ดิน ของสะสม) บางอย่างก็มูลค่าลดลง (เช่น รถยนต์ เครื่องจักร)
- ส่วนผลตอบแทนของเงินฝาก จะเป็นบวกเสมอ แต่เฉลี่ยแล้วก็จะน้อยกว่าหุ้น (2.8%)
- มีกราฟแท่งเปรียบเทียบ Deposit = 2.8%, Loan = 6%, Business = 11.5%
- รัฐบาลมักชอบให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ให้เกิดการลงทุน และเกิดการจ้างงาน
- หุ้น คือ ส่วนหนึ่งของธุรกิจ เราก็จะเป็นหนึ่งส่วนในค่าเฉลี่ยผลตอบแทน 11.5% ข้างต้น
- แต่มันมีความเสี่ยง ไม่ใช่ว่าทุกตัวลงทุนไปแล้วจะดี
- วิธีการลงทุนในหุ้น มีหลายวิธี: VI, Technical, Program Trading, Horoscope(วัดดวง), Nothing(มั่ว!)
- ไม่มีอะไรถูกผิดเสมอไป อาจใช้ร่วมกันได้ เช่น VI กับ เทคนิค เหมือนเรามีช้อนส้อมช่วยกัน ถ้าใช้ถูกวิธี
------------------
- What is VI? and Why VI? (อะไรคือ VI?, ทำไมต้อง VI?)
- ข้อเด่น:
1. มีตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จให้เห็น
2. เป็นเหตุเป็นผล สามารถอธิบายที่มาได้
3. มองการลงทุนในหุ้นคือ การซื้อธุรกิจ
- ข้อด้อย:
1. ไม่ระบุ timing ที่ชัดเจน (จะซื้อเมื่อไหร่ ถือยาวแค่ไหน ขายเมื่อไหร่)
2. ผลตอบแทนระยะสั้นอาจแพ้ตลาด
3. ติดกับดัก "Value Trap" คือดูอย่างเดียว ดูแต่ PE หรือดูแต่ Dividend Yield แล้วตัดสินใจเลย ไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดต่อว่าเกิดจากอะไร
- ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ VI...
X...กิจการดี ราคาแพงมากๆ ก็ลงทุนได้เลย
X...ถือยาว ไม่ขาย
X...ต้อง PE ต่ำเท่านั้น
X...ปันผลสูง
X...โลภเมื่อคนอื่นกลัว
X...ซื้อแล้วไม่ต้องติดตาม
X...หุ้น VI คือหุ้นที่คน VI ถือ (WTF!)
- VI คือ "การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของกิจการและลงทุนเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
- คุณค่าหรือราคา? หุ้นที่ดีคือหุ้นที่ร้อนแรงจริงหรือไม่? ...คนเล่นหุ้นใหม่ๆมักจะมีกำไร แต่น้อยคนที่จะได้กำเงินออกมา (เปรียบเทียบเหมือนกับเดินเข้าไปเล่นบ่อน)
--------------------
- VI Characteristics and Knowledge (อุปนิสัยของ VI และความรู้ที่ใช้)
Characteristics | Knowledge |
---|---|
Love to read | Industrial |
Listen & Learn | Financial Statement |
Observe & Experience | Stock Valuation |
Think & Analyst | Risk Management |
Investment Psychology |
-------------------
- Knowledge & Tools
- เริ่มยังไง? ...ให้เริ่มจากกิจการที่เราเข้าใจอยู่แล้ว
- วิเคราะห์อุตสาหกรรมด้วย "5 Forces Analysis"
- ถ้าดู factor ต่างๆแล้วเจอจุดตายแน่ๆ อาจตัดสินใจขายทันที อย่ารอให้ไปโผล่ว่าขาดทุนในงบการเงิน ถึงตอนนั้นก็สายไปเสียแล้ว
- ศึกษางบการเงิน...กำไร 3 อย่างที่เน้น: 1. Gross Profit, 2. Operating Profit, 3. Net Income
- งบดุลกับ Cashflow ก็ต้องดูด้วย สำคัญเช่นกัน, หลายครั้งที่บริษัทเจ๊งเพราะเงินสดขาดมือ หมุนไม่ทัน
- แต่...งบการเงินไม่ได้บอกเราทุกอย่าง เช่น ค่าตัวของ CEO หรือผู้บริหารเก่งๆ, ค่าความนิยมของ Brand, Patent ต่างๆ ดังนั้นเวลาประเมินมูลค่าหุ้น อย่าลืม คิดเรื่องพวกนี้รวมไปด้วย
- Stock Analysis: แบ่งเป็นเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
- เชิงปริมาณ เช่น การใช้ค่า PE, NPM, ROA, ROE ฯลฯ
- เชิงคุณภาพ ให้เปรียบเทียบเหมือนภาพโมนาลิซ่า ถ้าเราพิจารณาแต่เชิงปริมาณ มูลค่ามันจะต่ำมาก คือมีแค่ค่าสี ค่าผืนผ้าใบ แต่พอพิจารณาความสวยงามความนิยมเข้าไปมูลค่าจึงมหาศาล
- ยกตัวอย่างมา 4-5 บริษัท ที่กำไรพอๆกัน แต่ทำไมตลาดให้มูลค่าไม่เท่ากัน (Market Cap.)
- เราจึงต้องเข้าใจลักษณะของแต่ละกิจการเสียก่อนว่าแตกต่างกันยังไง เช่น...
กิจการรับเหมา
- เก็บเงินตามงวดของงาน
- สินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงานมีน้อย
- จะโตได้ต้องเพิ่มหนี้สิน
- หนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) สูง
- อัตราล้มละลายตอนเศรษฐกิจขาลงมีสูง
- ใช้ทุนตั้งต้นต่ำ คืนทุนเร็ว หมุนเงินต่อไปเรื่อยๆ
- ธุรกิจมี Barrier to entry ต่ำ
- เสี่ยงโดนเบี้ยว พลาดโดนงานใหญ่ทีซวย
กิจการโรงแรม
- เก็บเงินสด
- ใช้เงินลงทุนสูง
- ระยะคืนทุนนาน (พ่อลงทุน รุ่นลูกถึงจะได้คืน, มีแต่คนที่รวยแล้วถึงมาทำ พอทำนานๆรุ่งๆ จะมารับบริหารโรงแรมแทน)
- อ่อนไหวต่อการเมือง (ประเทศไทยเป็นเคสที่เห็นชัดเจน)
- อัตราแลกเปลี่ยนมีผล
- มีรายได้จากธุรกิจหลายกลุ่ม (อย่างโอเรียลเต็ล รายได้ค่าอาหาร จัดเลี้ยง งานแต่ง สัดส่วนมากถึง 50%)
- ธุรกิจมี Barrier to entry ต่ำ
- Asset มักจะโตได้เรื่อยๆ (ที่ดินทำเลดีๆ)
- สรุปว่า ต้องเข้าใจรายละเอียดของธุรกิจที่ลงทุน ถ้าเราเข้าใจดี ใครจะมาหลอกเราก็ไม่ได้
*** ตลาดหุ้น เชื่อง่าย ตายก่อน***
- Stock Valuation: มีหลายวิธี DCF, PEG, PBV, ROE, Market Cap.
- Risk Management: รู้จักประเภทของความเสี่ยง, การจัด portfolio, ศึกษาประวัติศาสตร์ของหุ้น
- Investment Psychology:
รูปภาพจาก Critical Mas (http://criticalmas.com/2006/08/investor-psychology-market-sediment) |
- พวกรายใหญ่รู้ว่า รายย่อยชอบมองแต่ราคาหุ้น ตัดสินใจก็ด้วยราคาหุ้น จึงใช้ราคาเป็นเครื่องมือหลอกเรา
- คนที่มีเงินมากๆเวลาจะซื้อเค้าไม่มานั่งกดไล่ราคาทีละช่อง แต่มักจะยืมหุ้นมา short ก่อน
- นักลงทุนหน้าใหม่อย่างเรา ช่วงแรกๆต้องศึกษาให้มาก เพราะกระสุนมีน้อย ถ้าพลาดทีเจ็บหนัก
(เปรียบเหมือนเราเข้าสู่สนามรบ มีแค่ปืนพกลูกโม่ กระสุน 6 นัด คือต้องยิงห้ามพลาด ต้องให้โดนทุกเม็ด แต่คนอื่นเค้ามีปืนกลแรมโบ้ มี RPG เค้ายิงกราดมาทีก็ไม่รอดแล้ว)
- ระวัง..."ตาบอดคลำช้าง" คือคลำไปโดนหูก็บอกว่าช้างรูปร่างเป็นใบๆ คลำไปโดนขาก็บอกว่าช้างรูปร่างเป็นแท่งๆ คือศึกษาไม่มากพอไม่เห็นภาพรวมของมันจริงๆนั่นเอง
Tools & Websites
- SET, Settrade, กลต., Thai VI, Google Finance, Money Talk, Money Channel
- แนะนำ Google Finance จะแสดงคู่แข่งหรือบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบให้ด้วย
- หนังสือ:
The Intelligent Investor,
Common Stock and Uncommon Profits,
One up on Wall Street,
Beating the street,
The new Buffettology,
The essential of Warren Buffett,
The most important thing illuminated.
-------------------
- Companies for long-term investment (เลือกบริษัทที่จะลงทุนระยะยาว)
- มีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Durable/Sustainable Competitive Advantage)
- ธุรกิจไม่ยากเกินความเข้าใจ (เช่น ค้าปลีก->ง่าย, ปิโตรเคมี->ยาก)
- อุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
- นักลงทุนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย
- ผู้บริหารมีจริยธรรม, บริษัทมีธรรมาภิบาล
*** Investment is a long-term game. ***
การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน...
- เป็นผู้นำ, เบอร์หนึ่ง, market share สูงสุด
- เป็นผู้นำเสนอ product ใหม่ๆเป็นเจ้าแรก
- brand แข็งแกร่ง
- อัตราการทำกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่าคู่แข่ง
- สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้สม่ำเสมอ
- ยากที่ผู้อื่นจะเลียนแบบหรือสร้างขึ้นใหม่
- กิจการที่สามารถขึ้นราคาได้เรื่อยๆ (คนที่เป็นเจ้าเบอร์หนึ่งมักจะกำหนดราคาได้)
- ความซื่อสัตย์ผู้บริหารสำคัญมาก: ดูอย่างเคส ENRON
- Buffett: "ผมไม่รู้ว่าอีก 10 ปีบริษัทจะกำไรเท่าไหร่ แต่อีก 10 ปียังไงคนก็ยังเคี้ยวหมากฝรั่ง"
- Opp Day: เหมือนขุมทรัพย์ให้เราเช็คได้ว่า บริษัทนี้พูดยังไง คู่แข่งพูดยังไง ฟังเยอะๆเราจะได้ภาพรวมอุตสาหกรรม ต่อไปเราจะจับผิดได้เลยว่าบริษัทไหนมั่ว
- ฝึกฝนมุมมองการทำธุรกิจ
- จับกลุ่ม Discussion กันบ่อยๆ
- ได้ข้อมูลอะไรมา อย่าเพิ่งเชื่อ
Steps of VI
1. ค้นหากิจการด้วยตนเองหรือผ่านสื่อต่างๆ
2. ทดลองใช้บริการหรือสินค้า
3. อ่าน 56-1, Annual Report, Website บริษัท
4. หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Opp Day, Money Talk, Company Visit
5. ตรวจประวัติผู้บริหาร
6. ทำความเข้าใจอุตสาหกรรม
7. ตรวจสอบงบการเงิน
8. ประเมินราคาที่น่าลงทุน
*** อย่าดูราคาก่อน ถ้าเห็นแต่ราคาแพง เราอาจมองข้ามธุรกิจดีๆไป ถ้าแพงก็รอไปก่อน ถ้าถูกแล้วค่อยจัดเต็ม ***
- ฝึกการจับประเด็นจากการอ่านข่าว เช่น จะโตกี่ % , ขยายกี่สาขา, ใช้งบลงทุนเท่าไหร่ แล้วลองไปดูว่าในอุตสาหกรรมนี้ลงทุนแล้วคืนทุนกี่ปี ลองคำนวณยอดขาย กำไร ของปีคร่าวๆดูให้ได้
คำถามที่ต้องถามก่อนการถือหุ้น?
1. จะเติบโตยังไง? เพิ่ม market share? เพิ่ม services & products? รุกตลาดใหม่ๆ? หรือทำมันทุกอย่างเลยรึเปล่า?
2. ลองสมมุติ Best/Worst case ที่จะเกิดกับบริษัท
3. มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ไหม?
4. เราสามารถประเมินกำไรในอนาคตได้แม่นยำแค่ไหน?
5. หุ้นมีสภาพคล่องไหม?
----------------
Case Study ของอาจารย์:
- มีตัวที่เคยตีแตก จากการศึกษาในรายละเอียดตอนดู Cashflow และพบว่า NPM ดีสุดในอุตสาหกรรม
- ตัวที่พลาด คือโดนผู้บริหารหลอก, ประเมินศักยภาพมันผิด, มีการเมืองภายในองค์กร
5 นาทีก่อนจบ...
- ปัญหาการเป็นมนุษย์ คือจิตใจเราไม่แน่นอน คนเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- ถ้าให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมดวงอาทิตย์ ป่านนี้ตายกันหมดโลกแล้ว เพราะวันไหนอารมณ์ดีก็ขึ้นตรงเวลา วันไหนขี้เกียจก็ขึ้นไม่ตรงเวลา
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com/
888888888888888888 ขอบคุณมากคับแอมมี่ :)
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ