[INV028] คำแนะนำของผมสำหรับผู้อยากเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้น
เนื่องจากเริ่มมีคนถามมาบ่อยขึ้น ผมจึงอยากรวบรวมความคิดและคำแนะนำส่วนตัวของผม สำหรับเพื่อนๆที่อยากเริ่มลงทุนในตลาดหุ้น แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี
เพื่อความสะดวกและป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในคำแนะนำที่ต้องอธิบายในแต่ละครั้ง
คำเตือน: สิ่งที่จะอ่านต่อไปนี้เป็นเพียงคำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัวเท่านั้น การทำตามสิ่งที่ผมแนะนำอาจมีความเสี่ยงที่แต่ละคนไม่อาจรับได้ อย่าเชื่อผมนะครับ เชื่อตัวเอง ตัดสินใจเอง เพราะเงินคือเงินของท่าน ท่านต้องรับผิดชอบเองนะจ๊ะ
คำนำ: ก่อนจะอ่านขอให้ทำความเข้าใจต่อไปนี้
1. ผมเป็นนักลงทุนสมัครเล่น ไม่เต็มเวลา ประสบการณ์ไม่ถึง 10 ปีในตลาดหุ้น และขี้เกียจมาก ไม่มีความเก่งอะไรที่พิสูจน์ได้เลย ไม่เคยโชว์พอร์ต (และไม่คิดจะโชว์) ดังนั้น อย่าเชื่อผมเลยจะดีที่สุด (ปิดไปได้เลย)
2. จุดประสงค์คือ ต้องการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวแนะนำเพื่อนๆที่สนใจเท่านั้น ไม่ได้ต้องการชี้นำหรือโอ้อวดว่าอย่างนี้ดี อย่างนี้ไม่ดี
3. ผมจะไม่บอกหุ้นรายตัว ไม่แนะนำหุ้นรายตัว ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ต้องถามนะครับ ถามไปก็ไม่ตอบ
4. การลงทุนในตลาดหุ้น เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนเท่านั้น ยังมีการลงทุนในรูปแบบอื่นๆอีกมากมายบนโลกใบนี้ ถ้ารู้ตัวว่าไม่เหมาะหรือไม่ถนัด ก็ควรไปหาอะไรทำที่คิดว่าดีกว่า ไม่ควรยึดติดว่าจะต้องมาเล่นหุ้น "การทำอะไรโดยไม่รู้ตัวนั้น(ไม่มีสติ) ถือเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ"
ขอย้ำให้อ่านคำเตือนและคำนำอีกครั้ง เพราะผมคือมือสมัครเล่นที่แค่รวบรวมคำแนะนำที่ถูกเพื่อนๆหรือคนรู้จักถามมาบ่อยๆเท่านั้นเอง
Part 1: ก่อนเริ่มลงทุน
1.1 มีหลายคนที่อยากเริ่มลงทุนในตลาดหุ้น แต่น้อยคนที่มีความพร้อมที่จะลงทุนในตลาดหุ้น ผมมักจะเตือนเสมอว่าตลาดหุ้นนั้นไม่ง่ายและเต็มไปด้วยความเสี่ยง นั่นหมายความว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้ามานั้นมักจะผิดหวังกลับไป มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ เงินต้นที่คุณค่อยๆเก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิตอาจหมดไปเพียงชั่วพริบตา ดังนั้น ความพร้อมอย่างแรกที่ควรจะต้องมีคือ "คุณจะต้องบริหารจัดการการใช้เงิน" ให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และในเน็ตเดี๋ยวนี้ก็มีบทความดีๆเรื่องการบริหารเงินหลายอย่าง จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของพี่เอ ศักดา (A-Academy) ที่ให้ความรู้ฟรีๆครอบคลุมพื้นฐานในเรื่องการเงินได้ดีมาก โปรดใช้เวลาศึกษาอะไรทำนองนี้กันก่อน
1.2 หลังจากมั่นใจว่ามีเงินสำรองเพื่อจุดประสงค์การลงทุน และมีเป้าหมายของการลงทุนแล้ว ลองเริ่มประเมินภาระหรือความเสี่ยงที่คิดว่าสำคัญในอนาคต จุดประสงค์ก็เพื่อประเมินว่าตัวเรานั้นเหมาะสมกับการลงทุนสินทรัพย์แบบไหนบ้าง
http://www.a-academy.net/s07-investment-assets/
หรือที่เว็บของ SET เองก็มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นวางแผนการเงินได้อย่างดี
https://www.set.or.th/set/financialplanning/home.do?language=th&country=TH
Part 2: เริ่มลงทุน
2.1 ลองเปิดใจ ศึกษาวิธีการลงทุนหลายๆแบบก่อน เพื่อดูจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละวิธี และเพื่อตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า เราชอบหรือมี lifestyle ที่เหมาะกับการลงทุนแบบไหน
ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ ก็คือ
สำหรับการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของดร.นิเวศน์ ดูก่อน
สไลด์บรรยายของพี่ชาย มโนภาส: https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Document_SETintheCity2014_03.pdf
https://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content06.pdf
หรืออาจจะผสมๆกันก็สุดแล้วแต่สะดวก
2.2 เนื่องจากตัวผมเองชอบวิธีการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ต่อไปจึงขอแนะนำขั้นตอนคร่าวๆเพื่อเริ่มมองหาบริษัทหรือหุ้นที่จะเริ่มลงทุนนะครับ ซึ่งอันที่จริงแล้วมีวิธีมากมาย จะขอยกตัวอย่างวิธีหลักๆที่ผมทำบ่อยๆนะครับ
2.3 หลังจากที่ลองเลือกหุ้นมาจำนวนหนึ่งแล้ว ให้เริ่มศึกษารายละเอียดของกิจการในแต่ละตัว เราอาจแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 หมวดหลักๆ
แหล่งข้อมูลสำหรับติดตามหุ้นรายตัว
2.4 เมื่อเราเริ่มรู้จักกิจการของบริษัทที่สนใจพอสมควรแล้ว ให้ลองประเมินมูลค่าของกิจการดู ความสำคัญของการประเมินมูลค่ากิจการคือ ทำให้เรารู้ว่ามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการน่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อของ ก็เหมือนกับการที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าของที่เราจะซื้อชิ้นนี้ถูกหรือแพง การประเมินมูลค่านั้นก็มีหลากหลายวิธี ข้อสำคัญคือ ไม่มีวิธีไหนที่แม่นยำเป๊ะๆ (ไม่งั้นก็รวยกันหมดทุกคนแล้ว) ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าไปยึดติดอย่างใดอย่างหนึ่ง บางวิธีอาจเหมาะกับบางรูปแบบของกิจการ
2.5 ใส่ส่วนเผื่อความปลอดภัยในการประเมินมูลค่าเสมอ (Margin of Safety) ประมาณ 15-20% อย่างน้อยถ้าเราประเมินพลาดก็ยังเอาตัวรอดได้ไม่เจ็บตัวมากนัก
2.6 จำลอง scenario ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการ: หากปีนี้เกิดน้ำท่วมสาขาต้องปิดไปบางส่วนจะเหลือยอดขายเท่าไหร่? หากต้นทุนสินค้าแพงกว่าที่คาดการณ์จะเหลือ gpm เท่าไหร่? ลองสร้างงบการเงินเสมือนของแต่ละ scenario และหา range ของมูลค่ากิจการแต่ละ scenario จะทำให้เรามองภาพออกว่ามี upside-downside แค่ไหน หากิจการที่มี downside ต่ำ แต่มี upside ที่สูง เนื่องจากหลักสำคัญของการลงทุนคือ จงอย่าขาดทุน ดังนั้นการพิจารณาหาทางเลือกที่มี downside ต่ำๆ อย่างน้อยถ้าเราคาดการณ์ผิด ก็เจ็บตัวไม่มากและกลับตัวได้ทัน
Part 3: หลังลงทุน
3.1 หมั่นติดตามข่าวและตรวจสอบกิจกรรมของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
3.2 ติดตามข่าวเศรษฐกิจและภาพรวมของอุตสาหกรรม
3.3 ศึกษาจิตวิทยาการลงทุน: The Psychology of Investing (แนะนำของพี่เวป พรชัย รัตนนนทชัยสุข แปล แต่ปัจจุบันหนังสือน่าจะไม่มีขายแล้ว)
3.4 อ่านหนังสือที่แนะนำ: https://setvi.wordpress.com/2014/10/15/10-หนังสือหุ้นสำหรับนักล-2/
3.5 คำแนะนำส่วนตัวจากผม...
คร่าวๆก็คงประมาณนี้ครับ
ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีวินัยในการลงทุน
ไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จ(ถ้ามีมันมักจะไม่ยั่งยืน) ทุกอย่างต้องสร้างและฝึกฝนด้วยตนเอง
ถ้าเราเชื่อตามเขา เราก็จะต้องคอยตามตูดเขาไปตลอดชีวิต
แต่ถ้าเราพัฒนาระบบความคิดและฝึกการวิเคราะห์ของเราเอง ถึงวันนี้จะพลาดท่า แต่ก็ได้บทเรียนว่าจะพัฒนาตนเองยังไงให้พรุ่งนี้แข็งแกร่งกว่าเดิม
สู้ๆนะครับทุกคน ;)
ampmie152
http://ampmie152.blogspot.com
เพื่อความสะดวกและป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในคำแนะนำที่ต้องอธิบายในแต่ละครั้ง
คำเตือน: สิ่งที่จะอ่านต่อไปนี้เป็นเพียงคำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัวเท่านั้น การทำตามสิ่งที่ผมแนะนำอาจมีความเสี่ยงที่แต่ละคนไม่อาจรับได้ อย่าเชื่อผมนะครับ เชื่อตัวเอง ตัดสินใจเอง เพราะเงินคือเงินของท่าน ท่านต้องรับผิดชอบเองนะจ๊ะ
คำนำ: ก่อนจะอ่านขอให้ทำความเข้าใจต่อไปนี้
1. ผมเป็นนักลงทุนสมัครเล่น ไม่เต็มเวลา ประสบการณ์ไม่ถึง 10 ปีในตลาดหุ้น และขี้เกียจมาก ไม่มีความเก่งอะไรที่พิสูจน์ได้เลย ไม่เคยโชว์พอร์ต (และไม่คิดจะโชว์) ดังนั้น อย่าเชื่อผมเลยจะดีที่สุด (ปิดไปได้เลย)
2. จุดประสงค์คือ ต้องการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวแนะนำเพื่อนๆที่สนใจเท่านั้น ไม่ได้ต้องการชี้นำหรือโอ้อวดว่าอย่างนี้ดี อย่างนี้ไม่ดี
3. ผมจะไม่บอกหุ้นรายตัว ไม่แนะนำหุ้นรายตัว ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ต้องถามนะครับ ถามไปก็ไม่ตอบ
4. การลงทุนในตลาดหุ้น เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนเท่านั้น ยังมีการลงทุนในรูปแบบอื่นๆอีกมากมายบนโลกใบนี้ ถ้ารู้ตัวว่าไม่เหมาะหรือไม่ถนัด ก็ควรไปหาอะไรทำที่คิดว่าดีกว่า ไม่ควรยึดติดว่าจะต้องมาเล่นหุ้น "การทำอะไรโดยไม่รู้ตัวนั้น(ไม่มีสติ) ถือเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ"
ขอย้ำให้อ่านคำเตือนและคำนำอีกครั้ง เพราะผมคือมือสมัครเล่นที่แค่รวบรวมคำแนะนำที่ถูกเพื่อนๆหรือคนรู้จักถามมาบ่อยๆเท่านั้นเอง
![]() |
Photo by rawpixel.com from Pexels |
Part 1: ก่อนเริ่มลงทุน
1.1 มีหลายคนที่อยากเริ่มลงทุนในตลาดหุ้น แต่น้อยคนที่มีความพร้อมที่จะลงทุนในตลาดหุ้น ผมมักจะเตือนเสมอว่าตลาดหุ้นนั้นไม่ง่ายและเต็มไปด้วยความเสี่ยง นั่นหมายความว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้ามานั้นมักจะผิดหวังกลับไป มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ เงินต้นที่คุณค่อยๆเก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิตอาจหมดไปเพียงชั่วพริบตา ดังนั้น ความพร้อมอย่างแรกที่ควรจะต้องมีคือ "คุณจะต้องบริหารจัดการการใช้เงิน" ให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และในเน็ตเดี๋ยวนี้ก็มีบทความดีๆเรื่องการบริหารเงินหลายอย่าง จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของพี่เอ ศักดา (A-Academy) ที่ให้ความรู้ฟรีๆครอบคลุมพื้นฐานในเรื่องการเงินได้ดีมาก โปรดใช้เวลาศึกษาอะไรทำนองนี้กันก่อน
- พื้นฐานการวางแผนการเงินส่วนบุคคล http://www.a-academy.net/s01-foundation-fp/
- งบการเงินส่วนบุคคล http://www.a-academy.net/s02-personal-fin-statement/
- บริหารเงินสดและสภาพคล่อง http://www.a-academy.net/s03-liquidity-mgmt/
- วางแผนการลงทุน http://www.a-academy.net/s06-investment-planning/
1.2 หลังจากมั่นใจว่ามีเงินสำรองเพื่อจุดประสงค์การลงทุน และมีเป้าหมายของการลงทุนแล้ว ลองเริ่มประเมินภาระหรือความเสี่ยงที่คิดว่าสำคัญในอนาคต จุดประสงค์ก็เพื่อประเมินว่าตัวเรานั้นเหมาะสมกับการลงทุนสินทรัพย์แบบไหนบ้าง
http://www.a-academy.net/s07-investment-assets/
หรือที่เว็บของ SET เองก็มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นวางแผนการเงินได้อย่างดี
https://www.set.or.th/set/financialplanning/home.do?language=th&country=TH
Part 2: เริ่มลงทุน
2.1 ลองเปิดใจ ศึกษาวิธีการลงทุนหลายๆแบบก่อน เพื่อดูจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละวิธี และเพื่อตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า เราชอบหรือมี lifestyle ที่เหมาะกับการลงทุนแบบไหน
ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ ก็คือ
- การลงทุนที่มุ่งเน้นคุณค่าหรือมูลค่าพื้นฐาน (Value Investing)
สำหรับการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของดร.นิเวศน์ ดูก่อน
สไลด์บรรยายของพี่ชาย มโนภาส: https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Document_SETintheCity2014_03.pdf
- การลงทุนด้วยวิธีเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis)
https://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content06.pdf
หรืออาจจะผสมๆกันก็สุดแล้วแต่สะดวก
2.2 เนื่องจากตัวผมเองชอบวิธีการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ต่อไปจึงขอแนะนำขั้นตอนคร่าวๆเพื่อเริ่มมองหาบริษัทหรือหุ้นที่จะเริ่มลงทุนนะครับ ซึ่งอันที่จริงแล้วมีวิธีมากมาย จะขอยกตัวอย่างวิธีหลักๆที่ผมทำบ่อยๆนะครับ
- มองหาหุ้นจากสิ่งใกล้ตัว: ลองเริ่มจากสิ่งใดที่เราชอบหรือสนใจก่อน ถ้ายังไม่มีในใจก็ให้ลองหลับตานึกถึงสินค้าหรือบริการที่เราคุ้นเคยหรือคิดออกเป็นชื่อแรกๆ ลองไล่ดูว่าตั้งแต่ตื่นนอน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี เล่นเฟสบุค เดินทางออกไปทำงาน ช้อปปิ้ง หาหมอ หรือกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน แล้วค่อยๆกรองเอาเฉพาะที่เราชอบและสนใจ จะยิ่งดีถ้าเป็นสินค้าหรือบริการที่เราคุ้นเคยหรือมีความรู้พื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว ข้อดีของวิธีนี้ คือการเริ่มจากสิ่งที่สนใจหรือคุ้นเคย จะมีแนวโน้มเริ่มต้นศึกษากิจการที่ง่ายกว่า
- มองหาหุ้นจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ: ลองติดตามข่าวดูว่ากลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจไหนกำลังรุ่งหรือร่วง อะไรจะเป็นเทรนด์ที่เติบโตได้ในอนาคต ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้เห็นภาพกว้างมากขึ้น ไม่ยึดติดกับกรอบเดิมของตัวเอง และมีโอกาสเติบโตไปกับเทรนด์ของอุตสาหกรรมนั้น
- มองหาหุ้นจากเครื่องมือตัวกรองหุ้น: ปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่เราสามารถสร้างตัวกรองหุ้นตามที่ต้องการได้ ข้อดีของวิธีนี้คือ กิจการที่ผ่านตัวกรองนั้นอย่างน้อยก็มีผลงานพิสูจน์มาระดับหนึ่งแล้วว่าเป็นกิจการที่มีพื้นฐานดี (แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะ เพราะตัววัดเหล่านั้นมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต)
- Yahoo Finance: https://finance.yahoo.com/screener/new
- Jitta Playlist: https://www.jitta.com/explore/growth-strategy
- Settrade: http://www.settrade.com/C00_Redirect.jsp?txtPage=products/th/Streaming_stock_screener.html
2.3 หลังจากที่ลองเลือกหุ้นมาจำนวนหนึ่งแล้ว ให้เริ่มศึกษารายละเอียดของกิจการในแต่ละตัว เราอาจแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 หมวดหลักๆ
- การศึกษาเชิงคุณภาพ: เช่น ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Durable Competitive Advantage), การวิเคราะห์ Five Forces Analysis, Marketing Mix 4P, ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ฯลฯ
- การศึกษาเชิงปริมาณ: เช่น ยอดขาย, กำไร, อัตราการทำกำไร, หนี้สิน, อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น, อัตราเงินปันผล ฯลฯ
แหล่งข้อมูลสำหรับติดตามหุ้นรายตัว
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: https://www.set.or.th/set/mainpage.do?language=th&country=TH ใส่ชื่อหุ้นตรงช่อง quote มุมขวาบน สิ่งที่ต้องอ่านคือ แบบ 56-1, รายงานประจำปี และงบการเงิน
- เว็บบอร์ด ThaiVI: http://board.thaivi.org/index.php สำหรับอ่านความเห็นจากเพื่อนนักลงทุน
- Settrade: http://portal.settrade.com/C17_ResearchList.jsp สำหรับอ่านบทวิเคราะห์จาก broker ต่างๆ
- Jitta: https://www.jitta.com/th สำหรับตัวช่วยวิเคราะห์และดูผลการดำเนินงานได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
- Morning Star: http://financials.morningstar.com/ratios/r.html?t=cpall®ion=THA&culture=en-us สำหรับดูงบการเงินย้อนหลังได้ 10 ปี
- SET Oppday: https://www.youtube.com/user/setgroupofficial/playlists?view=50&shelf_id=28&sort=dd สำหรับฟังผู้บริหารที่มาให้ข้อมูลแก่นักลงทุนแต่ละไตรมาส
- รายการ Money Talk: https://www.youtube.com/user/MoneyTalkChannel
2.4 เมื่อเราเริ่มรู้จักกิจการของบริษัทที่สนใจพอสมควรแล้ว ให้ลองประเมินมูลค่าของกิจการดู ความสำคัญของการประเมินมูลค่ากิจการคือ ทำให้เรารู้ว่ามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการน่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อของ ก็เหมือนกับการที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าของที่เราจะซื้อชิ้นนี้ถูกหรือแพง การประเมินมูลค่านั้นก็มีหลากหลายวิธี ข้อสำคัญคือ ไม่มีวิธีไหนที่แม่นยำเป๊ะๆ (ไม่งั้นก็รวยกันหมดทุกคนแล้ว) ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าไปยึดติดอย่างใดอย่างหนึ่ง บางวิธีอาจเหมาะกับบางรูปแบบของกิจการ
- 10วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio : http://www.investidea.in.th/2017/08/10-pe-ratio.html
- การประเมินมูลค่าหุ้นแบบง่ายๆ โง่ๆ #1 : คาดการณ์ EPS http://www.a-academy.net/finance/personal-finance/18-stock-valuation-eps/
- การประเมินมูลค่ากิจการ โดย picatos https://www.youtube.com/watch?v=PCpwjxnpolo&index=0&list=PLA0g7J0srujWg5gksJOWE4Yl50X6WKIyb
2.5 ใส่ส่วนเผื่อความปลอดภัยในการประเมินมูลค่าเสมอ (Margin of Safety) ประมาณ 15-20% อย่างน้อยถ้าเราประเมินพลาดก็ยังเอาตัวรอดได้ไม่เจ็บตัวมากนัก
2.6 จำลอง scenario ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการ: หากปีนี้เกิดน้ำท่วมสาขาต้องปิดไปบางส่วนจะเหลือยอดขายเท่าไหร่? หากต้นทุนสินค้าแพงกว่าที่คาดการณ์จะเหลือ gpm เท่าไหร่? ลองสร้างงบการเงินเสมือนของแต่ละ scenario และหา range ของมูลค่ากิจการแต่ละ scenario จะทำให้เรามองภาพออกว่ามี upside-downside แค่ไหน หากิจการที่มี downside ต่ำ แต่มี upside ที่สูง เนื่องจากหลักสำคัญของการลงทุนคือ จงอย่าขาดทุน ดังนั้นการพิจารณาหาทางเลือกที่มี downside ต่ำๆ อย่างน้อยถ้าเราคาดการณ์ผิด ก็เจ็บตัวไม่มากและกลับตัวได้ทัน
Part 3: หลังลงทุน
3.1 หมั่นติดตามข่าวและตรวจสอบกิจกรรมของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
3.2 ติดตามข่าวเศรษฐกิจและภาพรวมของอุตสาหกรรม
3.3 ศึกษาจิตวิทยาการลงทุน: The Psychology of Investing (แนะนำของพี่เวป พรชัย รัตนนนทชัยสุข แปล แต่ปัจจุบันหนังสือน่าจะไม่มีขายแล้ว)
3.4 อ่านหนังสือที่แนะนำ: https://setvi.wordpress.com/2014/10/15/10-หนังสือหุ้นสำหรับนักล-2/
3.5 คำแนะนำส่วนตัวจากผม...
- Stick to the plan: แต่ก็ต้องพร้อมจะถอยได้ทันที หารู้ตัวว่าประเมินผิด
- ออกไปเที่ยวบ้าง ออกไปคุยกับคนอื่นบ้าง อย่าหมกตัวมากเกินไป การลงทุนที่เหมาะกับตัวเองคือลงทันให้มีความสุข ถ้าไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ก็ควรจะหยุดคิดทบทวน
- ประเมินผลการลงทุนอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ดูว่าผลตอบแทนของพอร์ตเป็นอย่างไร อย่าลืมควบคุมสัดส่วนของสินทรัพย์ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้แต่แรก
- อดทนรอ และอย่าหวั่นไหวตามกระแสที่คนส่วนมากแห่กันทำ ถ้าเราทำตามแบบคนส่วนใหญ่เราก็จะได้ผลตอบแทนไม่ต่างกับค่าเฉลี่ย ให้ลองคิดหาเหตุผลและทบทวนจุดประสงค์ของการลงทุนในกิจการนั้น เพื่อพิจารณาว่ามีความสมเหตุสมผลแค่ไหนที่จะซื้อหรือขายหุ้น
- อย่ายึดติดกับสิ่งที่รู้มา มีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ อย่าหยุดเรียนรู้ อย่าหยุดศึกษา คนที่เก่งกว่าเรายังขยันศึกษาสิ่งใหม่ๆทุกวัน ถ้าเราหยุดก็คือกำลังถอยหลังแล้ว
คร่าวๆก็คงประมาณนี้ครับ
ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีวินัยในการลงทุน
ไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จ(ถ้ามีมันมักจะไม่ยั่งยืน) ทุกอย่างต้องสร้างและฝึกฝนด้วยตนเอง
ถ้าเราเชื่อตามเขา เราก็จะต้องคอยตามตูดเขาไปตลอดชีวิต
แต่ถ้าเราพัฒนาระบบความคิดและฝึกการวิเคราะห์ของเราเอง ถึงวันนี้จะพลาดท่า แต่ก็ได้บทเรียนว่าจะพัฒนาตนเองยังไงให้พรุ่งนี้แข็งแกร่งกว่าเดิม
สู้ๆนะครับทุกคน ;)
ampmie152
http://ampmie152.blogspot.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น