[INV019] นิยาม "หุ้นถูก" ของผม
ปกติแล้วผมพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็นเรื่องการซื้อ-ขายหุ้นรายตัวอยู่เสมอ
ด้วยความที่คิดว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของเราในการไปเชียร์หรือชี้นำให้ใครคิดแบบเรา ซึ่งมันเป็นเรื่องที่อันตรายและสุ่มเสี่ยงมากๆเพราะวิจารณญาณของผู้ฟังค่อนข้างมีหลากหลายระดับ
อีกประการหนึ่ง คือผมเป็นแค่นักลงทุนสมัครเล่นที่ประสบการณ์ยังน้อยมากๆ และมีคนที่เก่งอีกมากมายที่เขาควรจะไปถามหรือขอความเห็นมากกว่าที่จะเป็นผม
และเนื่องจากผมลงทุนในธุรกิจเพราะมองการเติบโตของธุรกิจระยะยาว
ถ้าจะให้ผมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหุ้น ผมจึงโฟกัสที่โครงสร้างธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนแนวโน้มอุตสาหกรรม โอกาสและความเสี่ยง มากกว่าการสนใจเรื่องราคาหรือจังหวะซื้อ-ขายใดๆ
...
สิ่งหนึ่งที่คนส่วนมากมักจะมองข้าม (และตัวผมเองก็ชอบมองข้ามเพราะความ "ขี้เกียจ" และ "มักง่าย" ของตัวเอง) คือ "การประเมินมูลค่าของหุ้น"
เพราะถ้าเรากลับมาทบทวนให้ดี หุ้นที่น่าลงทุนนั้น ผมสนใจอยู่ 2 เกณฑ์แค่...
1. กิจการที่ "ดีเยี่ยม" ในราคาที่ "เหมาะสม"
2. กิจการที่ "ดี" ในราคาที่ "ถูกมาก"
ทีนี้ความยากจริงๆคือ "อะไรคือดี?" แล้ว "อะไรคือถูก?"
ผมคิดว่ามันอาจไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะการศึกษาหุ้นสักตัวหนึ่งมันเหมือนการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มันเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งสถานะของผู้ลงทุน ความเสี่ยงที่รับได้ ตลอดจนมุมมองของแต่ละคนก็ต่างกันไป
มันถึงยาก มันถึงท้าทายเรา มันถึงมีแรงดึงดูด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินมูลค่า ที่มุมมองหรือสมมุติฐานของเราเองจะเข้าไปมีส่วนในการคาดเดามาก ก็ยิ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงจากความผิดพลาดสูงตาม ดังนั้น การทำ scenario analysis และกำหนด margin of safety จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในนิยามของผม...
หุ้นที่ราคาลงมาเยอะๆ ไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไป
และหุ้นที่ PE, PBV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไป
แต่หุ้นที่ถูก คือ "ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าในอนาคต"
บางครั้งเราก็ซื้อของแพงในมุมมองของคนอื่น ก็เพราะเมื่อเราประเมินแล้ว เรามองเห็นมูลค่าในอนาคตที่เราพอใจ เราก็เลยว่ามันถูก
เช่นเดียวกัน บางครั้งคนอื่นก็ซื้อแพงในมุมมอง ทั้งที่เขาว่ากันว่าถูก ก็เพราะเราประเมินแล้วว่ามูลค่าในอนาคตนั้นไม่เหมาะสม
สุดท้ายแล้วตัวเราเองเท่านั้น ที่ต้องตัดสินใจว่าอะไรถูกแพง อะไรควรซื้อไม่ควรซื้อ
เราเปิดรับฟังข้อมูลให้กว้างจากทุกๆคนไว้ แต่สุดท้ายการตัดสินใจต้องเกิดจากตนเอง
ถ้าผิด...ก็เรียนรู้ว่าผิดเพราะอะไร
ถ้าถูก...ก็ต้องรู้เช่นกัน ว่าเพราะเราประเมินถูกหรือแค่โชคช่วย
ขอฝากข้อคิดที่ผมได้จากรุมหลังงานของหมอพงศ์ศักดิ์ครับ...
"อยากทำได้ดีกว่าคนอื่นก็ต้องใช้เวลาทุ่มเทกว่าคนอื่น ถ้าเราทำการบ้านด้วยตัวเอง มันมีแต่ได้กับได้ เราได้พัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ แต่ถ้าเราเชื่อคนอื่น เราก็จะต้องเชื่อเขาไปตลอด เราจะไม่เก่งขึ้นเลย"
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com
ด้วยความที่คิดว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของเราในการไปเชียร์หรือชี้นำให้ใครคิดแบบเรา ซึ่งมันเป็นเรื่องที่อันตรายและสุ่มเสี่ยงมากๆเพราะวิจารณญาณของผู้ฟังค่อนข้างมีหลากหลายระดับ
อีกประการหนึ่ง คือผมเป็นแค่นักลงทุนสมัครเล่นที่ประสบการณ์ยังน้อยมากๆ และมีคนที่เก่งอีกมากมายที่เขาควรจะไปถามหรือขอความเห็นมากกว่าที่จะเป็นผม
และเนื่องจากผมลงทุนในธุรกิจเพราะมองการเติบโตของธุรกิจระยะยาว
ถ้าจะให้ผมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหุ้น ผมจึงโฟกัสที่โครงสร้างธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนแนวโน้มอุตสาหกรรม โอกาสและความเสี่ยง มากกว่าการสนใจเรื่องราคาหรือจังหวะซื้อ-ขายใดๆ
...
สิ่งหนึ่งที่คนส่วนมากมักจะมองข้าม (และตัวผมเองก็ชอบมองข้ามเพราะความ "ขี้เกียจ" และ "มักง่าย" ของตัวเอง) คือ "การประเมินมูลค่าของหุ้น"
เพราะถ้าเรากลับมาทบทวนให้ดี หุ้นที่น่าลงทุนนั้น ผมสนใจอยู่ 2 เกณฑ์แค่...
1. กิจการที่ "ดีเยี่ยม" ในราคาที่ "เหมาะสม"
2. กิจการที่ "ดี" ในราคาที่ "ถูกมาก"
ทีนี้ความยากจริงๆคือ "อะไรคือดี?" แล้ว "อะไรคือถูก?"
ผมคิดว่ามันอาจไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะการศึกษาหุ้นสักตัวหนึ่งมันเหมือนการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มันเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งสถานะของผู้ลงทุน ความเสี่ยงที่รับได้ ตลอดจนมุมมองของแต่ละคนก็ต่างกันไป
มันถึงยาก มันถึงท้าทายเรา มันถึงมีแรงดึงดูด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินมูลค่า ที่มุมมองหรือสมมุติฐานของเราเองจะเข้าไปมีส่วนในการคาดเดามาก ก็ยิ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงจากความผิดพลาดสูงตาม ดังนั้น การทำ scenario analysis และกำหนด margin of safety จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในนิยามของผม...
หุ้นที่ราคาลงมาเยอะๆ ไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไป
และหุ้นที่ PE, PBV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไป
แต่หุ้นที่ถูก คือ "ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าในอนาคต"
บางครั้งเราก็ซื้อของแพงในมุมมองของคนอื่น ก็เพราะเมื่อเราประเมินแล้ว เรามองเห็นมูลค่าในอนาคตที่เราพอใจ เราก็เลยว่ามันถูก
เช่นเดียวกัน บางครั้งคนอื่นก็ซื้อแพงในมุมมอง ทั้งที่เขาว่ากันว่าถูก ก็เพราะเราประเมินแล้วว่ามูลค่าในอนาคตนั้นไม่เหมาะสม
สุดท้ายแล้วตัวเราเองเท่านั้น ที่ต้องตัดสินใจว่าอะไรถูกแพง อะไรควรซื้อไม่ควรซื้อ
เราเปิดรับฟังข้อมูลให้กว้างจากทุกๆคนไว้ แต่สุดท้ายการตัดสินใจต้องเกิดจากตนเอง
ถ้าผิด...ก็เรียนรู้ว่าผิดเพราะอะไร
ถ้าถูก...ก็ต้องรู้เช่นกัน ว่าเพราะเราประเมินถูกหรือแค่โชคช่วย
ขอฝากข้อคิดที่ผมได้จากรุมหลังงานของหมอพงศ์ศักดิ์ครับ...
"อยากทำได้ดีกว่าคนอื่นก็ต้องใช้เวลาทุ่มเทกว่าคนอื่น ถ้าเราทำการบ้านด้วยตัวเอง มันมีแต่ได้กับได้ เราได้พัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ แต่ถ้าเราเชื่อคนอื่น เราก็จะต้องเชื่อเขาไปตลอด เราจะไม่เก่งขึ้นเลย"
ampmie152.
http://ampmie152.blogspot.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น